Sunday, June 28, 2009

วันลูกเสือแห่งชาติ



วันลูกเสือแห่งชาติ
๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๔
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรง เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๖ แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีองค์แรกที่ ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน

เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย
พ.ศ.๒๔๓๖
เสด็จฯ ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เป็นระยะเวลา ๙ ปี และได้เดินทางกลับจากอังกฤษผ่านสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

พ.ศ. ๒๔๔๗
เสด็จ เยือนเชียงใหม่ โดยขึ้นรถไฟไปลงที่ปากน้ำโพแล้วต่อเรือล่องแก่ง ผ่านเมืองตากขึ้นไปถึงเชียงใหม่และในการเสด็จฯเยือนเชียงใหม่นี้ได้มีการ สถาปนาโรงเรียนปรินส์รอยัล เมื่อ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ด้วย

พ.ศ. ๒๔๕๒
เสด็จฯเยือนเมืองสวรรคโลก ขณะที่ยังทรงเป็นยุพราช (เที่ยวเมืองพระร่วง)

พ.ศ. ๒๔๕๓
ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย)
? ยกฐานะโรงเรียนมหาดเล็ก เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
? ตั้งกองเสือป่า
พ.ศ. ๒๔๕๔
ตั้งกองลูกเสือ เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔
? จัดงานบรมราชาภิเษกเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ มีการเชิญราชวงศ์จากยุโรปและญี่ปุ่นให้เสด็จกรุงสยาม
? ฝรั่งเอาเครื่องบิน (สมัยนั้นเรียกเครื่องเหาะ) มาบินครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุม (สนามม้าราชกรีฑาสโมสร - สนามฝรั่ง) เมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๕๔
เกิดร.ศ. ๑๓๐ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง และต้องการลอบปลงพระชนม์ ตรงกับ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ (นับอย่างใหม่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๕)
พ.ศ. ๒๔๕๕
แปรสภาพกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕
จัด ระเบียบข้าราชการกระทรวงยุติธรรมใหม่ แยกฝ่ายธุรการและฝ่ายตุลาการออกจากกัน หลังจากเกิดเหตุวุ่นวายในกระทรวงยุติธรรมเนื่องจากกรณีละคอนพญาระกาของกรม หมื่นนราธิปฯ ที่หมิ่นประมาท กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถึงขั้นต้องถวายบังคมลาออกจากราชการเสนบดีกระทรวงยุติธรรม ?
ตั้งสถานเสาวภา
? ตั้งวชิรพยาบาล เมื่อ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยใช้ที่ดินที่ใช้สร้างสวนสาธารณะของอดีตผู้จัดการธนาคารสยามกัลมาจล ทุนจำกัด สินใช้ (ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)) ซึ่งได้นำมาชำระหนี้ซึ่งตนก่อไว้กับธนาคารสยามกัลมาจล ทุนจำกัด ?
จัดให้มีงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งแรก

พ.ศ.๒๔๕๖
ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน (ต้นรากธนาคารออมสิน) บังคับใช้ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖
? แยกกรมรถไฟออกเป็นกรมรถไฟสายเหนือ และ กรมรถไฟสายใต้ ตามเงื่อนไขสัญญาการกู้เงิน ๔ ล้านปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้เพื่อเชื่อมกับทางรถไฟของสหรัฐมลายู โดยให้นายหลุยส์ ไวเลอร์ ชาวปรัสเซีย ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือต่อไป และได้แต่งตั้งนายเฮนรี่ กิตตินส์ ชาวอังกฤษ เป็นวิศวกรใหญ่ผู้ความคุมงานการสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยรั้งตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายใต้ เนื่องจากนายเฮนรี่เป็นชาวอังกฤษผู้ที่รักษาผลประโยชน์ให้รัฐบาลสยามได้ดี และ มีประสบการณ์ในการสร้างทางรถไฟแคนาดาไปฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก มาก่อนที่จะทำงานในกรมรถไฟหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕
จัดตั้งกรมสหกรณ์
? เปิดกิจการวิทยุโทรเลข
? สถาปนา บริษัทซีเมนต์สยามจำกัดสินใช้ เครือซีเมนต์ไทยเมื่อ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
? เปิดการไฟฟ้าหลวงสามเสน (ปัจจุบันคือ การไฟฟ้านครหลวงสำนักงานสามเสน) เพื่อแข่งขันกับโรงไฟฟ้าวัดเลียบของบริษัทไฟฟ้าสยามจำกัดสินใช้ ของชาวเดนมาร์ก

พ.ศ. ๒๔๕๗
ตั้งกองบินขึ้นในกองทัพบก เริ่มสร้างสนามบินดอนเมือง ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อ ๘ มีนาคม ๒๔๕๗ ?
เปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
? เริ่มให้บริการน้ำประปา เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗
? ตั้งโรงเรียนพยาบาลของสภากาชาดไทย
? ตั้งเนติบัณฑิตยสถาน
? มีพระบรมราชานุมัติให้กู้ยืมเงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ จากรัฐบาลสหรัฐมลายูเพิ่มอีก ๗๕๐,๐๐๐ ปอนด์ ตามคำกราบบังคมทูลของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ เนื่องจาก เงินกู้ ๔ ล้านปอนด์เพียงพอสำหรับทางรถไฟสายใต้ที่เชื่อมฝั่งตะวันตก ตามความต้องการของพ่อค้าจีน พ่อค้าแขกเมืองปีนังเท่านั้น แต่ไม่พอสำหรับทางรถไฟผ่านมณฑลปัตตานีไปเชื่อมทางรถไฟที่ฝั่งกลันตัน

พ.ศ. ๒๔๕๘
เสด็จฯ เยือนหัวเมืองปักษ์ใต้ ครั้งแรก แม้ทางรถไฟสายใต้ยังไม่เชื่อมต่อกันสมบูรณ์
? เริ่มการสร้างสะพาน ๒ หอ (สะพานปางยางใต้)สะพาน ๓ หอ (สะพานปางยางเหนือ)และสะพาน ๕ หอ (สะพานปางหละ) หลังจากได้รับสะพานหอสูงซึ่งเป็นเครื่องเหล็กจากปรัสเซีย

พ.ศ. ๒๔๕๙
เลิกหวย ก.ข. เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙
? ทดลองจัดตั้งสหกรณ์เป็นแห่งแรก ที่ วัดจันทร์ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙
? ทางรถไฟสายใต้เชื่อมกันตลอด ที่ชุมพร
? เปิดสถานีรถไฟหลวงกรุงเทพ ที่หัวลำโพง เมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๕๙ หลังจากที่ดำเนินการขยายสถานีกรุงเทพตั้งแต่เดือนมิถุนายน พวางระเบียบการเรียกเก็บเงินรัชชูปการ ซึ่งเป็นการเสียเงินปีละ ๖ บาท ในยุคที่ข้าวสารถังละ ๕๐ สตางค์ ซึ่งถ้าเสียรัชชูปการแล้วก็จะมีการออกตั๋วสีเหลืองขนาดเท่าตั๋วจำนำ พิมพ์คำว่า "๖ บาท" ตัวโตๆ ถ้าไม่เสียรัชชูปการ (หรือเสียค่าตั๋วส่วย) ก็โดนส่งไปทำงานโยธา พวกที่ต้องยกเว้นไม่ต้องเสียรัชชูปการคือ พวกเจ้านายตั้งแต่ระดับพระองค์เจ้าขึ้นไป ทหารตำรวจ และประชาชนที่ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว ?
เริ่มการใช้เวลามาตรฐาน (+๗ ชั่วโมงเมื่อที่ยบกับเวลามาตรฐานกรีนิช)
? ทหารไทย กลับจากงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป

พ.ศ. ๒๔๖๓
แก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับสหรัฐอเมริกาสำเร็จเป็นประเทศแรก
? เปิดการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่าง กรุงเทพ-นครราชสีมา
? สตรีในพระราชสำนัก เริ่มนุ่งซิ่น ไว้ผมยาว
? รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงตันหยงมาส (สถานีซึ่งอยู่ระหว่างเมือง นราธิวาสเก่าที่ระแงะและ นราธิวาสใหม่ที่บางนรา) ?
ตั้ง กระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากฝนแล้งปี พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนารถ เป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์
? สมเด็จพระยุพราช (เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ) เสด็จทิวงคตจากอาการไข้หวัดใหญ่ ขณะเดินทางไปพักผ่อนที่สิงคโปร์ เมื่อ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๕๐ นาที หลังจากเดินทางจากกรุงสยามเมื่อ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ซึ่งมีเสียงเล่าลือกันว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์โดยใช้เชื้อไข้หวัดใหญ่ทาไปบน ช้อนส้อมแล้วสับเปลี่ยนช้อนส้อมขณะเกิดไฟดับในงานเลี้ยงส่งไปสิงคโปร์ ที่สุดได้มีการนำพระศพกลับกรุงสยามด้วยรถไฟขบวนพิเศษ
? กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดากฎหมายไทย)สิ้นพระชนม์ ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ หลังทรงพระประชวร ปวดพระเศียรขั้นคิดอะไรไม่ออก มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องถวายพระเพลิงเป็นอัฐิที่กรุงปารีสจึงจะสามารถนำพระ อัฐิกลับกรุงสยามได้?

พ.ศ. ๒๔๖๔
ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ฉบับแรก บังคับใช้ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๔
? กำหนดคำนำหน้านาม เด็ก เป็นเด็กชาย เด็กหญิง
? รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงสุไหงโกลก เมื่อ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ โดยให้กรมรถไฟหลวงเป็นผู้รับผิดชอบเนื่องจากสถานีสุไหงโกลกอยู่ในเขตแดนสยาม (ห่างจากหลักเขตกรุงสยามริมฝั่งแม่น้ำโก-ลกประมาณ ๑๓๐๐ เมตร) แล้วให้แบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายกับกรมรถไฟสหรัฐมลายู ครึ่งหนึ่งตามข้อกำหนดในสนธิสัญญา
? รถไฟหลวงสายเหนือ เปิดเดินได้ถึงเชียงใหม่ เมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔ (นับอย่างใหม่ต้อง พ.ศ. ๒๔๖๕)
? สภากาชาดไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตสภากาชาด

พ.ศ. ๒๔๖๕
ตรา ข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ชั่วคราว ซึ่งมีผลทำให้ยุบกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย แล้วแปรสภาพกระทรวงนครบาลเป็น มณฑลกรุงเทพ (หรือกรุงเทพมหานคร) ซึ่งประกอบด้วย พระนคร, ธนบุรี, นนทบุรี, สมุทรสาคร, พระประแดง และ สมุทรปราการ?
สถาปนากรมตำรวจเมื่อ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕
เปิดสถานเสาวภา
? เริ่มสร้างสะพานพระรามหก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ โดยบริษัทไดเดย์จากฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมา
เริ่มเดินรถด่วนเชียงใหม่และ รถด่วนระหว่างประเทศ

พ.ศ. ๒๔๖๖
ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง พาณิชย์ ครั้งแรก
? ตั้งสถานีอนามัย
? ให้กระหลวงกำแพงเพชอัครโยธินและพระชายาเสด็จไปวางหีบพรีฤกษ์สร้าสงสะพานพระราม ๖ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖
เปิดสายการบิน นครราชสีมา-ร้อยเอ็ด-อุดร-หนองคาย
? แก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับญี่ปุ่นสำเร็จเป็นประเทศที่ ๒
? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สิ้นพระชนม์
เจ้า ฟ้าอาภากรณ์เกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สิ้นพระชนม์ ที่พระตำหนัก ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าชายจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย แห่งวังเพชรบูรณ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง วัดเลียบ) และเป็นผู้ชำนาญการในการทรงฮาร์พ (พิณฝรั่ง) คนแรกในกรุงสยาม เสด็จทิวงคต ณ วังเพชรบูรณ์ (ปัจจุบันคือเซนทรัลเวิร์ด) เมื่อ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ 

พ.ศ. ๒๔๖๗
เสด็จเยือนสหรัฐมลายูและสิงค์โปร์โดยทางรถไฟพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสุวัจนาพระวรราชเทวี
? ส่งคณะทูตพิเศษนำโดยพระยากัลยาไมตรีไปเจรจาแก้ไขสนธิสัญญากับนานาชาติ
? ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์
? เกิดเหตุวิบัติ ขณะก่อสร้างสะพานพระราม ๖ ถังเคซองทำฐานราก ลอยออกมานอกเป้าหมาย ทำให้ต้องกู้ถังเคซองที่จมผิดที่ก่อนจะลงถังเคซองที่ใช้ทำฐานรากสะพานใหม่
? พระราชทานอภัยโทษให้กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ที่ต้องคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗
? ให้จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุยุคลวรเดช เสด็จเปิดทางรถไฟจาก ฉะเชิงเทรา (สถานีแปดริ้วใหม่ - กม. ๖๑) ถึงสถานีกบินทร์บุรี เมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ (นับอย่างใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๘)
? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าชาย อัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา กรมพระนครราชสีมาฯ แห่งวังสวนกุหลาบเสด็จทิวงคตด้วยอาการปัปผาสะบวม เมื่อ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ (นับอย่างใหม่ต้อง พ.ศ. ๒๔๖๘)

พ.ศ. ๒๔๖๘
แก้ไข สัญญากับประเทศในภาคพื้นยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสสำเร็จแม้จะมีอุปสรรคคือ มีการฆาตกรรมภรรยาท่านทูตฝรั่งเศสประจำกรุงสยามขณะดำเนินการเจรจา
ประวัติลูกเสือโลก
ลูกเสือมาจากคำว่า SCOUT ซึ่งมีความหมายดังนี้
- S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
- C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
- O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
- U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
- T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด


ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ชาวอังกฤษ ( เกิด ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๐ ) ในวัยเด็กชอบท่องเที่ยวพักแรม จึงรักธรรมชาติ ชอบร้องเพลง และมีความรู้ในการใช้แผนที่เป็นอย่างดี เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้รับราชการทหารเป็นร้อยตรี ไปประจำการ ณ ประเทศอินเดียและแอฟริกา ท่านเป็นทหาร มีเงินเดือนน้อยนัก จึงรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เข้มแข็งและอดทน

หลังจากปลดประจำการ แล้ว ได้นำประสบการณ์ตอนเป็นทหาร เช่น การฝึกสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าว และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ มาพัฒนาแนวคิดเป็นขบวนการลูกเสือ โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ท่านได้รวบรวมเด็ก ๒๐ คน ให้ไปอยู่กับท่านที่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการพักแรมครั้งแรกของลูกเสือ และต่อมาได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นอย่างจริงจัง

ท่านลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่เคนยา แอฟริกา ในช่วงอายุ ๘๐ ปี และถึงแก่กรรม เมื่อ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่เคนยา แอฟริกานั้นเอง

? ประวัติลูกเสือไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นก่อน เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยฝีกอบรมพวกผู้ใหญ่ เช่นข้าราชการพลเรือน ให้เรียนรู้วิชาการด้านทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามมีศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนในยามสงบ เช่นช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นต้น

จากนั้นอีกสองเดือนต่อมา คือ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย นับเป็นประเทศที่ ๓ ของโลก ที่จัดตั้งกองลูกเสือขึ้น ต่อจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชประสงค์ปลูกฝังให้เยาวชน รักชาติบ้านเมือง รักความสามัคคี มีความมานะอดทน และเสียสละเพื่อส่วนรวม

? คำปฏิญาณของลูกเสือ
?ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า?
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
? กฎของลูกเสือ
ข้อ ๑ ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ ๒ ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๓ ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๔ ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
ข้อ ๕ ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ ๖ ลูกเสือมีความเตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ ๗ ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ ๘ ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
ข้อ ๙ ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ ๑๐ ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ


 ๏ ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ
ขอน้อมนบบาทบงส์พระทรงศรี
พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี
ทรงปรานีก่อเกื้อลูกเสือมา

๏ ทรงอุตส่าห์อบรมบ่มนิสัย
ให้มีใจรักชาติศาสนา
ทรงสั่งสอนสรรพกิจวิทยา
เป็นอาภาผ่องพุทธิ์วุฒิไกร
๏ ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง
กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย
พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน
ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย
*** ราชสดุดี : เพลงลูกเสือ



บทความเกี่ยวข้อง" ฟื้นฟูลูกเสือกันเถอะ"

ขอบคุณที่มา : google

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon