Tuesday, June 30, 2009

ครบเครื่อง เรื่องจอ Lcd

จอLCD คืออะไร ??

เทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้กับ LCD นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
  • Passive Matrix หรือที่เรียกว่า Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อ ยกว่า ใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอ Palm ขาวดำเป็นส่วนใหญ่
  • Active Matrix หรือที่เรียกว่า Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก
เทคโนโลยี TFT LCD Mornitor
TN + Film (Twisted Nematic + Film)
Twisted Nematic (TN) คือสารประเภทนี้จะมีการจัดโครงสร้างโมเลกุลเป็นเกลีย ว แต่ถ้าเราผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปมันก็จะคลายตัวออกเป็น เส้นตรง เราใช้ปรากฏการณ์นี้เป็นตัวกำหนดว่าจะให้แสงผ่านได้ห รือไม่ได้ Twisted Nematic (TN) ผลึกเหลวชนิดนี้จะให้เราสามารถเปลี่ยนทิศทางการสั่นข องคลื่นแสงได้ 90? ถึง 150? คือเปลี่ยนจากแนวตั้งให้กลายเป็นแนวนอน หรือเปลี่ยนกลับกันจากแนวนอนให้เป็นแนวตั้งก็ได้ ด้วยจุดนี้เองทำให้การค่า Response Time (ค่าตอบสนองสัญญาณเทียบกับเวลา) มีค่าสูง



IPS (In-Plane Switching or Super-TFT)
การจัดโครง สร้างของผลึกจากเดิมที่วางไว้ตามแนวขนานกับแนวตั้ง (เทียบกับระนาบ) เปลี่ยนมาเป็นวางตามแนวขนานกับระนาบ เรียกจอชนิดนี้ว่า IPS (In-Plane Switching or Super-TFT) จากเดิมขั้วไฟฟ้าจะอยู่คนละด้านของผลึกเหลวแต่แบบนี้ จะอยู่ด้านเดียวกันแปะ หัวท้ายเพราะย้ายแนวของผลึกให้ตั้งขึ้น (เมื่อมองจากมุมมองของคนดูจอ) เป้าหมายเพื่อออกแบบมาแก้ไขการที่มุมของผลึกเหลวจะเป ลี่ยนไปเมื่อมันอยู่ ห่างจากขั้วไฟฟ้าออกไป ปัญหานี้ทำให้จอมีมุมมองที่แคบมาก จอชนิด IPS จึงทำให้สามารถมีมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ข้อเสียของจอชนิดนี้ก็คือ ต้องใช้ทรานซิสเตอร์สองตัวต่อหนึ่งจุดทำให้เปลืองมาก นอกจานั้นการที่มีทรานซิสเตอร์เยอะกว่าเดิมทำให้แสงจ ากด้านหลังผ่านได้น้อย ลง ทำให้ต้องมี Backlite ที่สว่างกว่าเดิม ความสิ้นเปลืองก็มากขึ้นอีกด้วย



MVA (Multi-Domain Vertical Alignment)
บริษัท Fujisu ค้นพบผลึกเหลวชนิดใหม่ที่ให้คุณสมบัติ คือทำงานในแนวระนาบโดยธรรมชาติและต้องการทรานซิสเตอร ์เพียงตัวเดียวก็ สามารถให้ผลลัพธ์เหมือน IPS เลยเรียกว่าว่าชนิด VA (Vertical Align) จอชนิดนี้จะไม่ใช้ผลึกเหลวที่ทำงานเป็นเกลียวอีกต่อไ ป แต่จะมีผลึกเป็นแท่ง ซึ่งปกติถาไม่มีไฟป้อนเข้าไปหาก็จะขวางจอเอาไว้ทำให้ เป็นสีดำ และเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าก็จะตั้งฉากกับจอให้แสงผ่าน เป็นสีขาว ทำให้จอชนิดนี้มีความเร็วสูงมาก เพราะไม่ได้คลี่เกลียว แต่ปรับทิศทางของผลึกเท่านั้น จอชนิดนี้จะมีมุมมองได้กว้างราว 160 องศา
ปัจจุบัน บริษัท Fujisu ได้ออกจอชนิดใหม่คือ MVA (Multi-Domain Vertical Alignment) ออกมาแก้บั๊กตัวเอง คือจากรูจะเห็นว่าด้วยความที่เป็นผลึกแท่ง และองศาของมันใช้กำหนดความสว่างของจุด ดังนั้นเมื่อมองจากมุมมองอื่น ความสว่างของภาพก็จะเปลี่ยนไปเลย เพราะถูกผสมในอีกรูปแบบหนึ่ง จอ Multidomain ก็จะพยายามกระจายมุมมองให้แต่ละ Pixel นั้นมีผลึกหลายมุมเฉลี่ยกันไป ทำให้ผลกระทบจากการกระมองมุมที่ต่างออกไปหักล้างกันเ อง





เทคโนโลยีมอนิเตอร์แบบ LCD มีจุดเด่นหลายประการคือ

  • ขนาดเล็กกะทัดรัดและนํ้าหนักเบา
    ด้วยการทำงานที่ ไม่ต้องอาศัยปืนยิงอิเล็กตรอน จึงช่วยให้ด้านลึกของจอภาพมีขนาดสั้นกว่ามอนิเตอร์แบ บ CDT ถึง 3 เท่าและด้วยรูปร่างที่แบนราบทางด้านหน้าและด้านหลัง ในบางรุ่นจึงมีอุปกรณ์เสริมพิเศษสำหรับติดฝาผนังช่วย ให้ประหยัดพื้นที่มาก ยิ่งขึ้น
  • พื้นที่การแสดงผลเต็มพื้นที่
    จากเทคโนโลยี พื้นฐานในการออกแบบ ทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ CDT ขนาด 17 นิ้วเท่ากัน พื้นที่แสดงผลที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ 15 นิ้วกว่าๆ เท่านั้น
  • ให้ภาพที่คมชัด มีรายละเอียดสูง และมีสัดส่วนที่ถูกต้อง
    เนื่องจากมอนิเตอร์มีความแบนราบจริง
  • ช่วยถนอมสายตาและมีอัตราการแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่ อสุขภาพตํ่ามาก
  • ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
    ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ตํ่ากว่าจอ CDT ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
  • ความสามารถในการรองรับอินพุต (Input) ได้หลายๆแบบพร้อมกัน
    เนื่อง ด้วยมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณดิจิตอลอื่นๆได้ เช่น โทรทัศน์หรือเครื่องเล่นดีวีดีและบางรุ่นสามารถทำภาพ ซ้อนจากหลายแหล่ง ข้อมูลได้ จึงทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD เป็นได้ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ในเวลาเ ดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อมอนิเตอร์หลายๆตัวมาใช้งาน
ขอบคุณที่มา : sglcomp


10 วิธีเลือกซีอจอ LCD

ถ้า คุณมีงบประมาณเหลือเฟือก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่สำหรับผู้ที่ต้องการให้ทุกบาททุกสตางค์คุ้มค่ามาก ที่สุด นอกจากรสนิยมส่วนตัวแล้ว 10 วิธีพื้นฐานนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวังกับจอ LCD ซื้อมาเลย

1. ข้อดีและข้อเสียของจอภาพ LCD

จอภาพ LCD นั้นไม่ได้มีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง และในบางเรื่องก็ด้อยกว่าจอภาพแบบ CRT ด้วยซ้ำ ดังนั้นคุณต้องทำความเข้าใจและถามตัวเองก่อนว่าต้องก ารข้อดีและยอมรับกับ ข้อจำกัดของจอภาพได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดรำคาญใจในภายหลัง โดยข้อดีต่างๆ ของจอภาพ LCD ก็คือ

- มีขนาดเล็กและบาง ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้งานมากกว่า
- กินไฟน้อยกว่า
- สบายตากว่าเพราะภาพไม่มีการ Flicker
- (บางรุ่น) หมุนแสดงผลแนวตั้งได้
- น้ำหนักเบาและสามารถแขวนติดฝาผนังได้
- รูปภาพไม่มีการเสียรูปทรง
- ใช้งานพื้นที่เต็มขนาดจอภาพ
- ไม่มีคลื่นรบกวนจากอุปกรณ์รอบข้างโดยเฉพาะลำโพง

ส่วนข้อเสียก็มีเช่นกันคือ

- มีมุมองที่จำกัดทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
- ความคมชัดจะเปลี่ยนไปตามมุมมอง
- (ในขนาดที่เท่าๆ กับจอ CRT) จะมีราคาสูงกว่า
- (ส่วนใหญ่) มีเงาดำเมื่อภาพเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
- ความละเอียดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานมีเพียงค่าเดีย ว
2. ขนาดและความละเอียด

จอภาพ LCD แต่ละขนาดจะถูกออกแบบมา โดยให้มีค่าความละเอียดที่เหมาะสมและแสดงภาพได้อย่าง ชัดเจนเพียงแค่ค่า เดียวเท่านั้นโดยจะสังเกตได้ว่าผู้ผลิตจะอ้างด้วย ข้อความว่า Native Resolution (จอภาพ CRT ส่วนใหญ่จะระบุด้วยคำว่า ความละเอียดสูงสุด) เช่นจอภาพขนาด 17 นิ้วที่ส่วนใหญ่จะมีความละเอียด 1,280x1,024 พิกเซลหรือขนาด 15 นิ้วที่มีความละเอียด 1,024x768 พิกเซล ดังนั้นคุณจึงควรตรวจสอบความละเอียดที่จอภาพระบุด้วย ว่าเพียงพอต่อความต้อง การหรือไม่ เพราะคุณจะไม่สามารถใช้ความละเอียดอื่นได้ หากต้องการภาพที่มีความชัดเจน

3. ความสว่าง

จอภาพที่ผู้ผลิตอ้างว่ามีความสว่างสูงจะเป็นหลักประก ันได้ดีกว่าว่า คุณสามารถนำจอภาพ LCD ไปใช้งานได้ในทุกๆ ที่โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพแสงโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในที่โล่งที่มี ความสว่างมากๆ อย่างเช่นบนสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งจอภาพที่มีความสว่าง 300Cd/m2 (แคนเดลาร์ต่อตารางเมตรหรือ nits) จะแสดงภาพได้ชัดเจนกว่าและทำให้ไม่ต้องเพ่งมองเหมือน กับจอภาพที่มีความ สว่างเพียง 175Cd/m2 แต่สำหรับการใช้งานภายในบ้าน ที่ทำงานความสว่างสูงๆ นี้ก็ไม่ได้จำเป็นเสมอไป

4. จุดเสีย (Dead Pixels)

ข้อบกพร่องของจอภาพที่พบได้เป็นประจำ ก็คือ การมีผลึกเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างจุดสีมีสถานะเป็น ON หรือ OFF แบบถาวรแทนที่จะมีสถานะที่เปลี่ยนไปตามสัญญาณภาพ ที่ส่งมาแสดงที่หน้าจอ ซึ่งจุดเสียนี้จะเห็นเป็นจุดสีขาวสว่างๆ (หรืออาจเป็นจุดสีดำก็ได้) ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อให้สอบถามถึงเงื่อนไขการรับป ระกันและการเปลี่ยนจอ ภาพใหม่ให้แทนในกรณีที่จอภาพนั้นๆ มีจุดเสียเกิดขึ้น และถ้าเป็นไปได้ก็ควรตรวจสอบดูก่อน ซึ่งวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดก็คือ การเปิดภาพหรือโปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำให้จอภาพแสดงสีขาวได้ทั่วทั้งจอภาพ แล้วจากนั้นให้เปลี่ยนจอเปลี่ยนไปแสดงสีดำแทน ซึ่งถ้าจอภาพมีจุดเสียอยู่คุณก็จะสังเกตเห็นได้อย่าง ชัดเจน

5. อัตราคอนทราสต์และมุมมอง

ถ้าคุณเลือกจอภาพ LCD ก็ให้ยอมรับกับข้อด้อยในเรื่องมุมมองก่อน แต่ถ้าทำใจลำบากก็ให้คุณตรวจสอบจากหน้าเว็บไซต์ของผู ้ผลิตดูก่อนว่า จอภาพนั้นมีมุมมองที่กว้างมากพอทั้งในแนวตั้งและแนวน อนหรืออย่างน้อยที่สุด 120 องศาและถ้าเป็นไปได้ก่อนที่คุณจะซื้อให้ทดสอบด้วยการ มองด้วยตาเปล่าในมุม ต่างๆ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย จากนั้นให้สังเกตดูว่าภาพที่เห็นนั้นยังคงมีความชัดเ จนอยู่หรืออัตราคอน ทราสต์ของภาพยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้จริงๆ


6. ความเร็วในการตอบสนอง

คุณสมบัติเฉพาะของจอภาพ LCD ข้อนี้หมายถึงเวลาที่จุดพิกเซลใช้ในการเปลี่ยนสถานะ (ON/OFF) หรือถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือเวลาที่จุดพิกเซลหนึ่ง ๆ ใช้ในการเปลี่ยนจากการแสดงสีดำเป็นสีขาว ซึ่งหลายๆ คนน้ำตาตกมาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ซื้อจอภาพ LCD มาเล่นเกมสามมิติหรือการแสดงผลในลักษณะอื่นที่ภาพมีก ารเคลื่อนที่อย่างรวด เร็ว โดยในจอภาพที่มีความเร็วในการตอบสนองที่ไม่เร็วพอนั้ น ภาพที่ได้จะมีลักษณะที่เป็นเงาดำหรือที่เรียกว่า Ghosting เกิดขึ้นตามมาพร้อมกับภาพด้วย ดังนั้นคุณควรเลือกจอภาพที่มีความเร็วสูงที่สุดเท่าท ี่จะเป็นไปได้คือ อย่างน้อย 16 มิลลิวินาทีหากคุณต้องการนำมาใช้งานในลักษณะดังกล่าว


7. การปรับ หมุนและแสดงผลในแนวตั้ง

ความสามารถพิเศษของจอภาพ LCD ที่หาไม่ได้จากจอภาพแบบ CRT ก็คือ การหมุนแสดงผลในแนวตั้งซึ่งการแสดงผลลักษณะนี้จะทำให ้คุณสามารถแสดงหน้า เอกสารต่างๆ หรือหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องคลิก ปุ่มเลื่อนขึ้นลงแต่ อย่างใด แต่อย่างไรก็ดีคุณสมบัตินี้จะมีเฉพาะจอภาพบางรุ่นที่ ออกแบบมาโดยเฉพาะเท่า นั้น นอกจากนั้นคุณควรตรวจสอบก่อนด้วยว่า หลังจากที่หมุนแล้วจอภาพมีระบบล็อคที่แน่นหนา ไม่แกว่งไปแกว่งมาและที่สำคัญคุณยังปรับระยะก้มเงยลั กษณะต่างๆ ได้โดยที่ไม่มีการติดขัดใดๆ

8. ระบบการควบคุม

แม้ว่าจอภาพจะถูกตั้งค่ามาอย่างเหมาะ สมแล้ว แต่ก็บ่อยครั้งที่คุณจำเป็นต้องปรับแต่งเพิ่มเติมดัง นั้น นอกจากระบบอัตโนมัติสำหรับการใช้งานในลักษณะต่างๆ ที่มีให้แล้ว จอภาพควรมีระบบควบคุมที่ใช้งานได้สะดวกด้วยหรืออย่าง น้อยปุ่มปรับค่าต่างๆ ก็ควรอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ง่าย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คุณจะรู้สึกหงุดหงิดมากทีเดียวเมื่อต้องการปรับค่าแต ่ละครั้งแม้ว่าจะต้อง การเพียงแค่เพิ่มความสว่างก็ตาม

9. พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อและแสดงผลโดยใช้สัญญาณ ภาพในระบบดิจิตอลน ั้นจะให้ภาพที่มี คุณภาพสูงกว่าอนาล็อกทั่วไป ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจอภาพ LCD ที่คุณเลือกทำได้ให้ตรวจสอบด้วยว่านอกจากพอร์ต D-Sub แล้วจอภาพยังมีพอร์ต DVI ให้มาด้วย แต่อย่างไรก็ดีหากการ์ดแสดงผลที่คุณใช้ไม่มีพอร์ต DVI-I ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่คุณจะเลือกใช้จอภาพ LCD ที่มีพอร์ตสำหรับสัญญาณดิจิตอลเช่นนี้

10. การรับประกันจากผู้ขาย

เนื่องจากจอภาพ LCD นั้นไม่แข็งแรงเหมือนกับจอภาพ CRT ดังนั้นคุณควรพิจารณาด้วยว่าจอภาพมีอายุการรับประกัน ที่นานพอ รวมถึงการส่งซ่อมในกรณีฉุกเฉินและตรวจสอบการเปลี่ยนอ ะไหล่สำคัญๆ อย่างเช่นหลอดไฟ Backlight สำหรับการใช้งานในระยะยาวด้วย





ขอบคุณที่มา : adslthailand







วิธ๊ตรวจสอบ Dead Pixal
จอ LCDเทคโนโลยีมอนิเตอร์ LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอ ดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น คำเตือน: ทางเราไม่ได้มีการประกันในการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาทั ้งหมด ดังนั้นควรพิจารณาด้วยตัวเอง

สำหรับ ผู้ใช้งาน จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD อาจเคยพบปัญหาหน้าจอมีจุด สีแดงสว่างปรากฏขึ้น จุดสีแดงนี้เราเรียกว่า "Dead Pixel" ซึ่งถ้าจอ LCD ของคุณอยู่ในประกัน ก็แนะนำให้รีบไปเปลี่ยนได้เลยครับ แต่ถ้าไม่มี ลองมาแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ครับ (ยังไงก็ดีกว่าทนใช้ไป ใช่ไหมครับ)
  1. วิธีที่ 1
  2. ปิดหน้าจอ LCD
  3. นำผ้านุ่มๆ มาเช็ดบริเวณที่เป็น Dead Pixel สัก ครึ่งนาที ถูเบาๆ แต่แรงนิดหน่อย(เพื่อให้เกิดความร้อนบริเวณนั้น)
  4. ทดลองเปิดหน้าจอใหม่ และสัมผัสบริเวณ Dead Pixel อีกครั้ง (อาจมีเสียงเล็กน้อย)
  5. สังเกตุดูอาการอีกครั้ง ถ้าไม่หายลองวิธีต่อไป
  • วิธีที่ 2
  • ดาว์นโหลด โปรแกรมมาแก้ไข เป็นโปรแกรมที่พยายามทำการ Reset Pixels หรือบางคนอาจเรียกว่า Pixels Exercise ทั้งนี้อาจมีส่วนช่วยให้ Dead Pixel มีลดปัญหาลง หรือแก้ไขได้
    • JScreenFix applet
      โปรกรมที่รันด้วย Jave อาจใช้เวลานานนับชั่วโมงในการแก้ไข
    • Dead Pixel Tester
      โปรแกรมที่รันแบบอัตโนมัติ รายละเอียดสามารถหาอ่านได้จากเจ้าของเว็บ
ขอบคุณที่มา : gooab






วิธีการดูแลรักษาจอLCD


สำหรับผู้ใช้มอนิเตอร์จอแบนที่เป็น LCD (หรือโน้ตบุ๊ก) พอนานๆ ไปคุณจะพบว่า หน้าจอมีจุดด่าง หรือรอยขีดข่วนเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอไม่ชัดเจน วินทิปครั้งนี้ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูแลหน้าจอให้สะอาดใหม่ใสปิ๊งอยู่เสมอด้วยตัวคุ ณเองครับ ก่อนจะทำความ สะอาดขั้นแรกให้คุณปิดการทำงานของจอ LCD ก่อน เพื่อว่าคุณจะได้สามารถมองเห็นรอยเปื้อน หรือร่องรอยของจุดด่างต่างๆ ได้อย่างชัดเจน จากนั้นหาผ้าฝ้ายที่ “อ่อนนุ่ม” แช่น้ำอุ่น แล้วบิดให้แห้งพอสมควร เช็ดเบาๆ บนหน้าจอจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา (ตามแต่ความถนัดของคุณ) แต่อย่าใช้วิธีเช็ดเป็นวงกลมโดยเด็ดขาด!!! หากปฎิบัติตามด้วยวิธีข้างต้นแล้ว ไม่สามารถทำให้หน้าจอดูสะอาดขึ้นมาได้ ให้คุณลองใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำสะอาดแทน อย่างไรก็ตาม หลักการทำความสะอาดหน้าจอ LCD ก็คือ ผ้าฝ้ายที่ ใช้เช็ดจะต้องล้างให้สะอาดก่อนลงมือเช็ดทุกครั้ง และไม่ควรใช้การพ่นน้ำ (หรือ น้ำ + น้ำส้มสายชู) เข้าไปที่หน้าจอโดยตรง แล้วตามด้วยผ้าแห้งเช็ดถูเข้าไปอีกที ซึ่งด้วยวิธีนี้นอกจากจะไม่ช่วยให้หน้าจอของคุณสะอาด ขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้หน้าจอมีปัญหาการแสดงผลในอนาคตได้อีกด้วย หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาเช็ดกระจก หรือชุดทำความสะอาดที่ส่วนผสมของแอมโมเนีย เนื่องจากมันจะทำให้พื้นผิวหน้าจอ LCD กลายเป็นสีเหลือง (สังเกตได้จากสีขาวที่เห็นในหน้าจอจะเห็นเป็นสีเหลือ งอ่อนๆ) หวังว่า คำแนะนำง่ายๆ ต่อไปนี้ คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้จอ LCD ทุกท่านนะครับ






ขอบคุณที่มา : arip

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon