Wednesday, July 22, 2009

สินสอดทองหมั้นคืออะไร และใครเป็นผู้มีสิทธิ/กฎหมายควรรู้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2552 22:46 น.

ขอบคุณภาพประกอบจาก hotref.com

เมื่อกล่าวถึงสินสอดและทองหมั้นทุกท่านคงคิดและเข้าใ จไปในทางเดียวกันก็คือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีไทยไม่ว่าจะเป็น เหนือ อีสาน กลาง ใต้ ออก ตก ก็มีธรรเนียมประเพณีแตกต่างกันไป แต่ยังคงไว้ซึ่งจุดมุ่งหมายอันเดียวกันนั่นคือคำมั่น สัญญาของชายและหญิงว่าจะสมรสอยู่กินกันฉันสามีภรรยาต ่อไป ไม่ว่าตามจารีตประเพณีจะเป็นเช่นไร แต่หากเกิดกรณีพิพาทกันขึ้นในเรื่องสินสอดและทองหมั้ น ทรัพย์สินต่างๆที่ให้ไว้แก่กันนั้นจะเป็นสินสอดและขอ งหมั้นที่กฎหมายให้ความคุ้มครองหรือไม่ หรือใครจะเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นก็ต้องนำหลัก กฎหมาย (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ลักษณะ ๑ หมวด ๑ การหมั้น) มาใช้ในการวินิจฉัย

ของหมั้น ตามกฎหมายต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นแก้ว แหวน เงินทอง รถยนต์ ไปจนถึงบ้าน คอนโด ที่ดิน และยังรวมไปถึงสิทธิต่างๆที่ตีมูลค่าเป็นเงินได้ก็เป ็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่เป็นของหมั้นได้

2. ของหมั้นต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ตัวหญิงเ อง และหญิงได้รับของสิ่งนั้นไว้เอง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ หญิงให้แก่ชาย หรือ หญิงให้แก่หญิง หรือ ชายให้กับชาย ในทางกฎหมายไม่อาจถือว่าของสิ่งนั้นเป็นของหมั้นแม้ผ ู้ให้และผู้รับเจตนาที่จะให้สิ่งของเหล่านั้นเป็นของ หมั้นก็ตาม แต่ถือเป็นเพียงการให้โดยสเน่หาอย่างหนึ่งเท่านั้น

3. ของหมั้นต้องส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงในวันหมั้นโดยหญ ิงได้รับไว้หรือรับโอนทางทะเบียนในกรณีที่ของหมั้นเป ็นทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น หากเป็นเป็นเพียงสัญญาจะให้แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอน ให้กันจริงในวันหมั้นทรัพย์สินเหล่านั้นไม่ถือเป็นขอ งหมั้นตามกฎหมายและหญิงไม่อาจฟ้องเรียกให้ส่งมอบในภา ยหลังได้

4. ของหมั้นนั้นฝ่ายชายต้องให้แก่หญิงโดยมีเจตนาที่จะให ้ของหมั้นนั้นเป็นหลักฐานว่าจะสมรสหญิงต่อไปซึ่งต้อง มีเจตนาไปถึงขั้นที่ว่าจะจดทะเบียนสมรสด้วย มิใช่ประสงค์แต่เพียงจะจัดงานสมรสขึ้นในภายหลังเท่าน ั้น ทั้งของหมั้นนี้ต้องได้ให้ไว้ก่อนการจดทะเบียนสมรสด้ วยมิเช่นนั้นแล้วของสิ่งนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นของหมั้น เป็นแต่เพียงการให้โดยสเน่หา

หากของสิ่งใดเข้าลักษณะเป็นของหมั้นดังกล่าวแล้วของส ิ่งนั้นก็จะตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีซึ่งฝ่ายชายอาจเร ียกคืนได้เฉพาะในกรณีที่หญิงผิดสัญญาไม่สมรสด้วยเท่า นั้น

ส่วนสินสอดนั้น ต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับของหมั้น

2. สินสอดต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมิได้ให้แก่ตัวหญิงเองอย่างของห มั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งไปที่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิง หากหญิงไม่มีตัวบุคคลดังกล่าวอยู่แล้วแม้จะมีการตกลง กันให้มอบทรัพย์สินนั้นแก่หญิงเองก็ไม่ทำให้ทรัพย์สิ นนั้นเป็นสินสอดไปได้ และสินสอดที่ตกลงให้กันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งมอบใ ห้แก่ฝ่ายหญิงทันทีอย่างของหมั้นเพียงแต่ตกลงที่จะให ้หรือจะนำมาให้ภายหลังก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ทรัพย์ สินดังกล่าวเป็นสินสอดที่ทำให้ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร ้องได้

3. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิง ยอมสมรสด้วยซึ่งต้องกินความถึงขนาดที่จะต้องมีการจดท ะเบียนสมรสกันตามกฏหมาย แต่ไม่ใช่การให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงที่ให้ความยินยอมในกรณีที่หญิงยังเป ็นผู้เยาว์

สินสอดเมื่อให้แล้วจะตกเป็นสิทธิของพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงทันทีแม้ชายหญิงจะยังไม่ได้จดทะเบีย นสมรสกันก็ตามเพียงแต่ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ถ้ าการสมรสไม่มีขึ้นเพราะตัวหญิงเองเป็นต้นเหตุ หรือเป็นเหตุที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ซึ่งในกรณีนี้รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นเหตุให้ไม่มีการสมรสขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามชายหญิงจะทำการหมั้น หรือการสมรสกันโดยไม่มีสินสอดก็ได้ เพียงแต่ว่าหากมีการตกลงให้สินสอดกันแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงเท่านั้นมีสิทธิเรีนกเอาสินสอดดังกล ่าวได้

จากลักษณะสำคัญของทั้งสินสอดและของหมั้นดังกล่าวจะทำ ให้สามารถเห็นภาพของสินสอดและทองหมั้น (ของหมั้น) ในทางกฎหมายได้ดียิ่งขึ้นมากกว่าความเข้าใจในแบบจารี ตประเพณีทั่วไป ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดสิทธิตามสัญญาหมั้น แก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่จะเรียกร้องหรือเรียกคืนสิน สอดและของหมั้นระหว่างกันได้เท่านั้น แต่การทำสัญญาหมั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสมรสว่าจ ะต้องมีการหมั้นก่อนแต่ประการใดแม้ว่าการให้ของหมั้น นั้นจะเป็นการให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกัน หรือการให้สินสอด ที่เป็นการให้ไว้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยินยอมสมรสก็ไ ม่ได้หมายความว่าหากมีการผิดสัญญาคือไม่มีการสมรสเกิ ดขึ้นแล้วจะมีใครไปบังคับให้ชายหญิงต้องสมรสกันได้ ซึ่งหากมีการบังคับกันจริงการสมรสนั้นก็ไม่สมบูรณ์ตา มกฎหมายเพราะการสมรสจะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ได้ชายหญิงต ้องยินยอมเป็นสามีภรรยากันเท่านั้น ดังนั้นความยินยอมในทางกฎหมายหรือความรักตามหลักความ เป็นจริงจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สอดคล้องกันอันจะทำ ให้การสมรสของชายและหญิงเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์
ที่มา:www.junjaowka.com

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon