Saturday, July 18, 2009

ค้นพบซุปเปอร์โนวาไกลสุด

คอลัมน์ โลกสามมิติ
โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th
ในอนาคตดาวเอตา คาริเน ดาวฤกษ์มวลมากในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกจะระเบิดเป็น ซุปเปอร์โนวาคล้ายกับ ซุปเปอร์โนวาที่คูกี้ค้นพบ

นัก ดาราศาสตร์ค้นพบ ซุปเปอร์โนวา (Supernova) ขนาดใหญ่สองดวง ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและอยู่ไกลที่สุด เกิดขึ้นเมื่อ 11 พันล้านปีก่อน หรือหลังจากการระเบิดบิ๊กแบง (Big Bang) ประมาณ 2.5 พัน ล้านปี

ดร.เจฟฟ์ คูกี้ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ไอร์วีน และทีมงานเผยการค้นพบในวารสาร Nature

ซุป เปอร์โนวาคือการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องมีมวลมากกว่ามวลดวงอาทิตย์ 8 เท่า หลังจากเชื้อเพลิงปฏิกิริยานิวเคลียร์ของดาวฤกษ์หมดลง แกนกลางของดาวฤกษ์จะหดตัว เกิดคลื่นกระแทกคือการระเบิดและจะเหวี่ยงหรือสาดสสารบางส่วนสู่อวกาศรอบๆ ซึ่งจะทำให้สว่างไสวอยู่นานหลายปี

นักดาราศาสตร์ค้นหา ซุปเปอร์โนวาโดยวิธีเปรียบเทียบภาพถ่ายหย่อมท้องฟ้าในเวลาที่แตกต่างกันและ ดูความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากปรากฏว่ามีแสงสว่างในกาแล็กซี่เกิดขึ้นใหม่ นั่นก็สิ่งที่อาจบ่งชี้ว่ามันคือ ซุปเปอร์โนวา

แม้ว่า ซุปเปอร์โนวาจะมีความสว่างมากก็ตาม แต่ระยะทางที่ไกลมากเราจะเห็นแสงมันสลัวๆ แต่ก็เห็นได้เป็นเวลานานหลายเดือน ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงสามารถที่จะแยกแยะมันออกจากความพร่ามัวของกาแล็กซี่ ได้ซุปเปอร์โนวาที่อยู่ไกลมาก แสงของมันใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกหลายพันล้านปี


กล้องโทรทรรศน์ Keck บนยอดเขาเมานา เคอา เกาะฮาวาย




คู กี้ นำวิธีนี้มาใช้ในการค้นหา ซุปเปอร์โนวาขนาดใหญ่ชนิด type IIn ซึ่งเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์ที่มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 50-100 เท่า ซุปเปอร์โนวาชนิดนี้มีความสำคัญเพราะจะมันสาดสสารส่วนใหญ่ออกสู่อวกาศ

ทว่าเขาใช้เทคนิคใหม่ โดยใช้ภาพถ่าย ที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเป็นปีและนำไปเปรียบเทียบกับปีอื่นๆ

"ถ้า คุณวางภาพเหล่านั้นเป็นกองขนาดใหญ่ จากนั้น คุณก็สามารถที่จะไปถึงจุดที่ลึกกว่าและเห็นวัตถุที่สลัวกว่า มันเหมือนกับการถ่ายภาพ เมื่อคุณเปิดชัตเตอร์เป็นเวลานาน คุณจะรวมแสงได้มากขึ้นจากการเปิดหน้ากล้องที่นานกว่า" คูกี้ อธิบาย

ดร.มา ร์ค ซัลลิแวน นักดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด หนึ่งในทีมค้นพบ กล่าวว่า เรานำข้อมูลมาทั้งหมดและรวมเข้าด้วยกัน แทนที่จะใช้ข้อมูลในคืนเดียวซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นชั่วโมงเดียวแต่เรามี ข้อมูลหลายชั่วโมงที่มีค่า

คูกี้รวมรวมและวิเคราะห์ภาพถ่ายหย่อมท้อง ฟ้าในบริเวณเดียวกันในช่วงเวลา 5 ปี ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ Canada-France-Hawaii บนยอดเขาเมานา เคอา บนเกาะฮาวายซึ่งพบว่าในภาพมีวัตถุ จำนวน 4 ดวงที่อาจจะเป็น ซุปเปอร์โนวา หลังจากนั้นเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Keck บนยอดเขาเมานา เคอา ตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยศึกษาสเปคตรัมของแสงที่ปล่อยออกมา ในที่สุดก็ยืนยันได้ว่าทั้งหมดเป็น ซุปเปอร์โนวาจริง


เทคนิคใหม่ในการเปรียบเทียบภาพถ่ายท้องฟ้าในช่วงเวลาหลายปีทำให้คูกี้ค้นพบ ซุปเปอร์โนวาไกลสุด



ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ Keck แสดงให้เห็นว่า แสงที่เดินทางจาก ซุปเปอร์โนวา 2 ดวงมาถึงโลกใช้เวลาเกือบ 11 พันล้านปี

นั่นก็หมายความว่า การระเบิด ซุปเปอร์โนวาได้เกิดขึ้นเมื่อ 11 พันล้านปีที่ผ่านมาและแสงเพิ่งจะเดินทางมาถึงเรา

การ ค้นพบ ซุปเปอร์โนวาไกลสุดซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของจักรวาลจะช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้ร่องรอยเกี่ยวกับการกำเนิดของจักรวาล มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตอบคำถามที่ว่า จักรวาลเติบโตจากก๊าซไฮโดรเจนส่วนใหญ่ไปสู่การเต็มไปด้วยสสารที่หลากหลายได้ อย่างไร

นอกจากนั้นด้วยเทคนิคใหม่ในการค้นหาที่คูกี้พัฒนาขึ้นมา จะช่วยให้นักดาราศาสตร์มีโอกาสศึกษา ซุปเปอร์โนวาดวงแรกๆ หลังจากกำเนิดจักรวาลได้ไม่นานนัก และมีความเข้าใจว่ากาแล็กซี่กำเนิดขึ้นมาได้อย่างไรและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างไร แม้กระทั่งว่าดาวเคราะห์เช่นโลกกำเนิดขึ้นมาอย่างไรด้วย

"จักรวาล มีอายุราว 13.7 พันล้านปี ดังนั้นเรากำลังเห็นดาวฤกษ์บางส่วนถือกำเนิดขึ้น เมื่อดาวระเบิด พวกมันจะพ่นสสารออกไปสู่อวกาศ แรงดึงดูดจะทำให้สสารยุบตัวลงกลายเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่ ซึ่งอาจจะมีดาวเคราะห์อย่างโลกรอบๆ ดาวฤกษ์นั้น" คูกี้กล่าว

เรย์ คาร์ลเบิร์ก หนึ่งในทีมค้นพบจากมหาวิทยาโตรอนโต อธิบายว่า ในระหว่างการระเบิด ซุปเปอร์โนวานั้น ธาตุทั้งหมดที่หนักกว่าออกซิเจน เช่น แคลเซียม ซิลิกอน เหล็ก ไปจนกระทั่งถึงยูเรเนียมจะถูกผลิตขึ้นมา โลหะเหล่านี้พร้อมกับการระเบิดพลังงานมหาศาลที่ปล่อยออกมายังก๊าซที่อยู่ รอบๆ ทำให้ ซุปเปอร์โนวาเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับการศึกษาการสร้างกาแล็กซี่และองค์ ประกอบของดาวฤกษ์ แม้กระทั่งดาวเคราะห์หินอย่างโลกของเราด้วย

การค้น พบ ซุปเปอร์โนวาชนิด type IIn เก่าแก่ที่สุดก่อนหน้านี้เป็น ซุปเปอร์โนวาที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 พันล้านปีก่อนหรืออยู่ไกล 6 พันล้านปีแสง และ ซุปเปอร์โนวาชนิดอื่นเมื่อเกือบ 9 พันล้านปีก่อนหรืออยู่ไกล 9 พันล้านปีแสง

คูกี้เชื่อว่า ด้วยเทคนิคใหม่นี้จะทำให้นักดาราศาสตร์สามารถมองย้อนอดีตกลับไปได้ถึง 12.5 พันล้านปีเพื่อที่จะมองเห็นดาวฤกษ์ดวงแรกๆ บางดวงที่ถือถือกำเนิดขึ้นหลังจากบิ๊กแบง

ที่มา:มติชนรายวัน วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11452

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon