Tuesday, June 23, 2009

‘พ่อแม่มือใหม่กับไข่ 5 ฟอง’




ถึงแม้ หนังสือภาพเล่มนี้จะถูกจัดอยู่ในชุดลูกรัก เรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องราวของจำนวนที่เพิ่มขึ้น จำนวนที่ลดลง จำนวนนับ และสัญลักษณ์ตัวเลข แต่สิ่งที่มีมากกว่าคณิตศาสตร์ก็คือเรื่องราวของการ ‘คิดบวก’ คำว่า ‘คิดบวก’ นี้เหมือนคำพูดทางคณิตศาสตร์ แต่โดยความหมายคือการมองโลกในแง่ดี

‘พ่อแม่มือใหม่’ นำเสนอเรื่องของครอบครัวใหม่ของพ่อแม่จระเข้ให้เป็นแ บบอย่างของครอบครัวที่ดี เริ่มต้นด้วยความอิ่มเอมของพ่อและแม่จระเข้มือใหม่ ตามธรรมดาโลกนั้นย่อมมีทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย สูตรสำเร็จของการเขียนนิทานที่พบเห็นได้ง่าย คือ การสร้างปัญหา สร้างความยุ่งยาก แล้วแก้ปัญหา ด้วยการให้บทเรียนแก่ตัวละครได้สำนึกผิด หรือมี สิ่งวิเศษ มีผู้วิเศษมาช่วย แต่สำหรับ ‘พ่อแม่มือใหม่’ นั้นมีลักษณะเป็น ‘ฮาวทู’ (HOW TO...) สู่ความสำเร็จด้วยการใช้ถ้อยคำในเชิงบวกตลอดทั้งเรื่ อง

ลองมาดูถ้อยคำเชิงบวกที่สร้างความรู้สึกดีๆ ในเรื่องว่ามีอะไรบ้าง..ในหน้าที่สามมีคำว่า..สุดหล่ อ, ตั้งท้อง, อาหารดีๆ สุดฝีมือ, บำรุง, ฟองโตสมบูรณ์, อร่อยจัง, ขอบคุณนะจ๊ะจากเรื่องที่ไม่เต็มห้าบรรทัดแต่มีถ้อยคำ เชิงบวกถึงแปดคำ!!

หน้าสี่มีคำว่า พร้อม, ตั้งตารอ (ด้วยความสุข-ครูชีวัน)
หน้าหกมีคำว่า ตั้ง 5 ฟอง, สวยสมบูรณ์, ขอบใจ
หน้าเก้ามีคำว่า เตรียมตัว, เตรียมใจ, เตรียมของใช้, มากมาย, มีความสุข
หน้าสิบเอ็ดมีคำว่า เฝ้าดูแล, ทำของเล่น, เตรียมไว้ให้, เยอะแยะ
หน้าสิบสองมีคำว่า ตื่นเต้นดีใจ
หน้าสิบสามมีคำว่า หล่อ
หน้าสิบสี่มีคำว่า ภูมิใจ
หน้าสิบห้ามีคำว่า หางยาวใหญ่ (ในโลกของจระเข้ถือว่าเป็นหางที่สมบูรณ์แข็งแรง-ครูชีวัน)
หน้าสิบหกมีคำว่า ไม่นาน
หน้าสิบเก้ามีคำว่า เก่งๆ, ดีมาก, สนุกสนาน
หน้ายี่สิบมีคำว่า เฝ้าดูแลไข่, ดูแลลูกๆ
หน้ายี่สิบเอ็ดมีคำว่า พ่อดีใจ, พี่ๆ ก็ดีใจ
หน้ายี่สิบหกมีคำว่า ไชโย, ครบ, เฝ้าเลี้ยงดู, ความสุข




รวมคำที่นำมาใช้ให้เกิดความรู้สึกในทางบวกถึงสามสิบแ ปดคำ แทรกและร้อยเรียงไปกับเหตุการณ์ การกระทำ ความคิดคำนึงของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง

ตั้งคำถามว่า ‘ทำไมจะต้องมีถ้อยคำเชิงบวกมากๆ และในความเป็นจริง เรื่องราวในเชิงบวกนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาหรือ’ คำตอบคือหากเราเชื่อว่าการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ก ับเด็ก เด็กก็จะเติบโต (ส่วนใหญ่) เป็นคนดี ส่วนที่ว่าในความเป็นจริง...แน่นอนว่าในความเป็นจริง เรื่องดีๆ ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ใน ‘เรื่องแต่ง’ เราสามารถสร้าง ‘โลกอุดมคติ’ ที่สมบูรณ์แบบเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีได้ โลกจริงมีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งบวกและลบ แต่เรื่องแต่งสามารถนำเสนอว่า คิดอย่างไรถึงจะดี ทำอย่างไรจึงจะให้ผลบวกและมีความสุข การนำเสนอเช่นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เช่นกัน

นอกจากการนำเสนอเรื่องแบบ ‘คิดบวก’ แล้ว ภาพประกอบที่ใช้ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ให้ความรู้ส ึกถึงบรรยากาศแห่งความสุขในสถานการณ์ที่สำคัญยิ่งของ ชีวิต

องค์ประกอบทางศิลปะที่ผู้วาดภาพนำมาใช้นั้นโดยรวมจะพ บว่าใช้สีที่ให้ความรู้สึกสดชื่น คือสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ และภายใต้ชั้นสีเขียวและสีอื่นๆ ที่ปรากฏในภาพนั้นจะมีสีเหลืองรองพื้น ซึ่งให้ความรู้สึกสดสว่างอยู่ทั้งเล่ม

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ จระเข้ในเรื่องนี้ ผู้วาดจงใจที่จะไม่แสดงหรือวาด ‘ฟันและเขี้ยวแหลมๆ’ ตามธรรมชาติจริง เป็นการตัดองค์ประกอบทางศิลปะคือเส้นหยักฟันปลาที่ให ้ความรู้สึกรุนแรงและน่ากลัวออกไป


ถึง แม้แก่นเรื่องและสิ่งที่ผู้เขียนอยากสอน ที่ชัดเจนคือเรื่องคณิตศาสตร์จะไม่ได้ถูกนำมากล่าวถึ ง แต่ก็เชื่อว่าทั้งผู้อ่านและเด็กๆ จะสัมผัสและ เรียนรู้ได้เข้าใจได้ไม่ยาก สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้จากหนังสือภาพประการหนึ่งก ็คือ การถอดรหัสความคิดและถ้อยคำที่ใช้ให้เข้าใจและ เพื่อความเข้าใจหนังสือภาพมากยิ่งขึ้น

อ.ปรีดา ปัญญาจันทร์ นักวาดภาพประกอบ นักเขียน นักเล่านิทาน
รศ.เกริก ยุ้นพันธ์ อาจารย์สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อ.ชีวัน วิสาสะ นักวาดภาพประกอบ นักเขียน นักเล่านิทาน และคุณพ่อลูก 2


*ทั้ง 3 ท่านจะมาสับเปลี่ยนหมุนเวียน เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในแวดวงหนังสือ และนิทานผ่านคอลัมน์นี้

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon