Monday, June 22, 2009

"บางกอกน้อย" วัดเลื่องชื่อ ร่ำลือเรือพระราชพิธี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
โดย หนุ่มลูกทุ่ง

หอพระไตรปิฎกที่วัดระฆังฯ
ใน บรรดาวิธีเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งหลาย ฉันขอยกให้การ "เดินเท้าท่องเที่ยว" เป็นวิธีที่ดีที่สุด ยิ่งเป็นการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯที่มีตรอกซอกซอยให้เ ดินลัดเลาะชมบรรยากาศ ก็จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของผู้คนอย่างใกล้ชิด อาจจะมีหลงทางบ้างบางครั้ง ก็ได้ใช้แผนที่ปากถามทางกันเป็นที่สนุกสนานไปอีกแบบ

ในวันนี้ฉันขอแนะนำเส้นทางเดินเที่ยวใน "เขตบางกอกน้อย" ซึ่งเป็นย่านที่สามารถเดินซอกแซกไปได้ทั่วถึงกัน โดยเริ่มต้นกันที่ "วัดระฆังโฆษิตาราม" มาได้ง่ายๆ เพียงแค่นั่งเรือข้ามฟากมาจากท่าช้าง วัดระฆังฯหรือแต่เดิมเรียกว่า "วัดบางหว้าใหญ่" นี้ เคยเป็นที่พำนักของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเกจิอาจารย์ที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกและเชี ่ยวชาญในทางวิปัสสนา แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วแต่พุทธศาสนิกชนก็ยังเคารพน ับถือท่านอยู่ไม่เสื่อม คลาย จึงมีคนมากราบไหว้รูปหล่อของท่านที่ประดิษฐานอยู่ในว ัดเป็นจำนวนมากทุกวัน

ช้อปปิ้งของมือสองที่ตลาดวังหลัง
หากมาที่วัดระฆังก็ไม่ควรพลาดชม "หอพระไตรปิฎก" ซึ่งแต่เดิมเป็นพระตำหนักที่ประทับของรัชกาลที่ 1 เมื่อยังทรงตำแหน่งเป็นพระราชวรินทร์ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้วจึงทรงโปรดเกล้าฯใ ห้รื้อพระตำหนักมาถวาย วัด และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อเป็นห อพระไตรปิฎก

จากวัดระฆังเดินลัดเลาะมาที่ "ตลาดวังหลัง" แถวท่าเรือพรานนก ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช ตลาดแห่งนี้ไม่ใช่ตลาดสด แต่เป็นแหล่งช้อปปิ้งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของวัยรุ ่น ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า โดยเฉพาะของมือสองนั้นถือเป็นจุดเด่นของตลาดแห่งนี้เ ลยทีเดียว หากใครอยากเลือกของมือสองสภาพดีๆก่อนใครก็ให้มาในวัน พุธที่จะมีสินค้ามาลง แต่ก็ต้องอดทนกับผู้คนที่เดินเบียดเสียดกันหน่อย และไม่เพียงเป็นแหล่งช้อปปิ้งเท่านั้น แต่ยังเป็นย่านของกินอร่อยๆ หลากหลายอีกด้วย

ภายในพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช
ไหนๆก็ผ่าน "โรงพยาบาลศิริราช" แล้ว ก็มารู้จักกับโรงพยาบาลเก่าแก่แห่งนี้เสียหน่อย โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งโรงพยาบาล ขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชน รวม 48 ตำบล และเมื่อระงับการระบาดของโรคได้แล้วโรงพยาบาลจึงได้ป ิดทำการ แต่พระองค์ทรงเห็นว่าหากมีโรงพยาบาลอยู่ก็จะช่วยบำบั ดทุกข์บำรุงสุขให้ พสกนิกรได้ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรกข ึ้นบริเวณวังของกรม พระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)

ในขณะเตรียมการก่อสร้างนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ พระราชโอรสของพระองค์ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลง สร้างความเศร้าโศกให้แก่พระองค์ยิ่งนัก ต่อมาจึงทรงพระราชทานชื่อโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า "โรงศิริราชพยาบาล" หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียก "โรงพยาบาลวังหลัง" นั่นเอง

หลวงพ่อโบสถ์น้อยแห่งวัดอมรินทราราม
แม้ไม่ใช่คนป่วยแต่หากอยากจะมาเที่ยวที่โรงพยาบาลศิร ิราชก็สามารถทำได้ เพราะที่นี่มี "พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช" ที่เป็นการเก็บและจัดแสดงสิ่งของเพื่อนำมาจัดการเรีย นการสอนของแต่ละภาควิชา โดยมีพิพิธภัณฑ์ให้ชมกันถึง 6 ห้องด้วยกัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์ ก่อนประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร และพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน

เดินเล่นเย็นๆในโรงพยาบาลกันแล้วคราวนี้เดินกันต่อมา อีกหน่อยที่ "วัดอมรินทราราม" หรือ "วัดบางหว้าน้อย" ที่มี "หลวงพ่อโบสถ์น้อย" เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัด โดยแต่เดิมนั้นวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยนั้ นเคยเป็นพระอุโบสถมา ก่อน แต่ภายหลังเมื่อมีการตัดเส้นทางรถไฟสายใต้เริ่มจากปา กคลองบางกอกน้อยไปทาง นครปฐมก็ทำให้ต้องรื้อพระอุโบสถด้านหน้าออกไปส่วนหนึ ่งจนทำให้โบสถ์มีขนาด เล็กลง ต่อมาจึงเรียกพระพุทธรูปในโบสถ์นี้ว่าหลวงพ่อโบสถ์น้ อยตามไปด้วย

บรรยากาศที่จะได้พบในชุมชนบ้านบุ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เส้นทางรถไฟสายนี้ถูกโจมตีด้วยระเบิดอย่างหนัก ทำให้บริเวณวัดอมรินทรารามถูกระเบิดทำลายไปด้วยเป็นส ่วนใหญ่ ด้วยความรุนแรงนั้นทำให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อย ถึงกับหักพังลงมา สร้างความเศร้าเสียใจให้กับชาวบ้านในละแวกนั้นเป็นอย ่างยิ่ง

แต่ต่อมาก็ได้สร้างเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่โดยชาวชุม ชนบ้านช่างหล่อ ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ๆวัด และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการหล่อพระพุทธรูป อีกทั้งได้สร้างพระอุโบสถใหม่แทนพระอุโบสถหลังเก่าที ่ชำรุดทรุดโทรมด้วยเช่น กัน ส่วนหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาของชา วบ้านในแถบนี้เช่นเดิม

หลวงพ่อศาสดา พระประธานภายในพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม
เดินลัดเลาะกันต่อมาตามทางรถไฟ หากนึกถึงโกโบริและอังศุมาลินไปด้วยก็จะทำให้การเดิน นี้มีรสชาติมากขึ้น เพราะบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยหรือสถานีรถไฟธนบุรีน ี้เป็นจุดกำเนิดเรื่อง ราวความรักจากนวนิยายเรื่องคู่กรรม ที่เขียนโดยทมยันตี นำมาสร้างเป็นหนังเป็นละครหลายต่อหลายครั้ง เรียกน้ำตาคนดูได้หลายขัน บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ "โรงรถจักรธนบุรี" ซึ่งเป็นสถานที่บำรุงรักษาและซ่อมแซมรถจักรไอน้ำ ขวัญใจของคนรักรถไฟที่จะนำออกมาวิ่งเฉพาะในโอกาสสำคั ญๆ เท่านั้น

ในตรอกเล็กๆ ข้างโรงรถจักรธนบุรีนี้เองก็เป็นชุมชนสำคัญอีกแห่งหน ึ่งในกรุงเทพฯ นั่นก็คือ "ชุมชนบ้านบุ" ชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่อพยพม าตั้งหมู่บ้านในราชธานี ใหม่ ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก ชาวบ้านที่อพยพมานี้ได้นำเอาวิชาความรู้ในการทำ "ขันลงหิน" ภาชนะโลหะชนิดหนึ่งที่ใช้วิธีการ "บุ" หรือการตีให้เข้ารูปติดตัวมาเป็นอาชีพ และสืบเชื้อสายถ่ายทอดวิชาช่างบุต่อเนื่องกันมาในชุม ชนหลายชั่วอายุคน จนมาถึงปัจจุบัน ดังนั้นหากได้แวะเวียนมาที่ชุมชนบ้านบุก็ยังจะได้เห็ นการทำขันลงหินกันอยู่ แต่เหลืออยู่เพียงหลังเดียวเท่านั้นคือที่ "ขันลงหินบ้านบุ เจียม แสงสัจจา" ที่หากใครถูกใจขันลงหินชิ้นไหนก็ตกลงราคากันได้เลย

ชมเรือพระที่นั่งอันงดงามได้ที่พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระรา ชพิธี
และวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบุนั้นก็คือ "วัดสุวรรณารามฯ" หรือ "วัดทอง" ที่ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระศาสดา พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยเป็นพระประธาน อีกทั้งภายในพระอุโบสถยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือภาพจิตร กรรมฝาผนังซึ่งเป็น ฝีมือของบรมครูสองท่าน คือครูทองอยู่และครูคงแป๊ะ ซึ่งวาดภาพจิตรกรรมประชันกันได้อย่างงดงาม อีกทั้งที่วัดสุวรรณฯนี้ยังมีผู้นิยมมาบนบานศาลกล่าว กับหลวงพ่อศาสดา และมักแก้บนด้วยการ "วิ่งม้าแก้บน" ที่ไม่ได้เอาม้าจริงๆมาวิ่ง แต่ใช้วิธีสมมติเอาผ้าขาวม้ามาผูกขมวดปมให้คล้ายหัวม ้า และผู้วิ่งต้องส่งเสียงร้องฮี้ๆ ให้เหมือนขี่ม้าจริงๆ อีกด้วย

จากวัดสุวรรณารามฯคราวนี้ข้ามฝั่งคลองบางกอกน้อยมาอี กฝั่งหนึ่งเพื่อมาชม "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี" ที่หลายๆคนยังติดใจในภาพความงดงามของกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค ก็สามารถมาชมเรือพระที่นั่งอย่างใกล้ชิดกันได้ที่นี่ โดยภายในพิพิธภัณฑ์ฯ จะจัดแสดงเรือพระราชพิธีสำคัญ 8 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรืออสุรวายุภักษ์ และเรือเอกชัยเหินหาว อีกทั้งยังมีเครื่องประกอบและสิ่งของเครื่องใช้ในพระ ราชพิธีต่างๆ จัดแสดงอยู่ด้วย เช่น บัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่าง ๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย เป็นต้น

แวะชมการทำที่นอนยัดนุ่น
มาปิดท้ายกันกับแหล่งท่องเที่ยวสุดท้าย ที่ "วัดดุสิตารามฯ" ซึ่งสามารถเดินลัดเลาะจากพิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธีม าได้ อ้อ...ระหว่างทางสามารถแวะชมการทำ "ที่นอนบางกอกน้อย" ซึ่งเป็นอาชีพที่สืบสานกันมาในชุมชนชาวมุสลิมที่อพยพ มาจากกรุงศรีอยุธยามา ตั้งรกรากที่นี่ ที่นอนบางกอกน้อยเป็นที่นอนยัดนุ่นที่มีคุณภาพทนทาน นอนแล้วไม่ปวดหลัง แต่เนื่องจากสมัยนี้คนไม่นิยมใช้กันแล้วจึงเหลือบ้าน ที่ทำที่นอนในละแวกนี้ อยู่เพียงไม่กี่หลัง รับทำตามที่มีคนสั่งซื้อเท่านั้น

แวะดูการทำที่นอนนานไปหน่อย เกือบลืมจุดหมายปลายทางของเราที่วัดดุสิตฯเสียแล้ว วัดแห่งนี้เป็นการรวมเอาวัดโบราณ 3 วัดเข้าด้วยกัน คือวัดเสาประโคน (วัดดุสิตฯ) วัดน้อยทองอยู่ และวัดภุมรินราชปักษี หากเข้าไปกราบพระภายในพระอุโบสถแล้วก็อย่าลืมออกมาชม พระอุโบสถและพระวิหาร หลังเก่าที่เคยอยู่ในอาณาเขตของวัดภุมรินราชปักษี แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมเป็ นแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย สำหรับพระวิหารนั้นมีความพิเศษตรงที่ด้านหลังนั้นจะม ีพระพุทธรูปยืนปางห้าม ญาติองค์ใหญ่อยู่ด้วย อีกทั้งในบริเวณวัดยังมี "ศาลาเรือโบราณ" ซึ่งเป็นที่เก็บเรือขุดโบราณจากไม้ตะเคียนขนาดความยา วหลายสิบเมตรไว้ให้ชมกันด้วย

พระวิหารเก่าของวัดภุมรินราชปักษี ส่วนหนึ่งของวัดดุสิตฯ
เส้นทางท่องเที่ยวในเขตบางกอกน้อยนี้นับว่ายาวไม่ใช่ เล่น แม้จะเดินกันจนเมื่อยไปสักเล็กน้อย แต่รับรองว่าไม่ผิดหวังกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีครบถ้วนทั้งไหว้พระ ชมพิพิธภัณฑ์ ซื้อสินค้าหัตถกรรมของชุมชน ช้อปปิ้ง สินค้าแฟชั่น และกินอาหารอร่อยๆ กันไปตลอดเส้นทางเลยทีเดียว

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon