Thursday, July 2, 2009

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายที่อย่ามองข้าม

แพทย์แนะทางที่ดีควรหมั่นดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เเพียงพอ ไม่เครียด และออกกำลังกายเ็้นประจำ...

จากการที่สหพันธ์หัวใจโลก ได้กำหนดให้วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายนเป็น "วันหัวใจโลก" เพื่อให้ประชากรโลกตระหนักถึงภยันตรายจากโรคหัวใจ หลายหน่วยงานจึงออกมาขานรับที่จะช่วยกันให้ความรู้เร ื่องโรคหัวใจ และ "ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ" ถือเป็นอีกหนึ่งโรคหัวใจที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เมื่อใดที่เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าหรือเร็วมากเกินไป หรือเรียกว่า "ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ" ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและหา แนวทางรักษาที่ถูกต้อง โดยเร็ว

ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี เผยถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะไว้อย่างน่าสนใจว่า หัวใจ เต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อย ส่วนมากพบในผู้ใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น หรือเต้นสะดุด บางครั้งมีอาการเหมือนหัวใจหยุดเดินไป 1-2 จังหวะ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการเป็นลมหมดสติและเป็นอัม พฤกษ์ อัมพาตได้ ส่วนการตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้หลายวิธี ด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ชนิด CT 64 Slice และ Cardiac MRI รวมทั้งการฉีดสีผ่านสายสวนหัวใจ เป็นต้น

ส่วนการรักษานั้นต้องวินิจฉัยอย่างรอบคอบและรักษาให้ ตรงจุด เช่น กรณีที่การเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ ควรรักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) เป็นเครื่องมือขนาด 4-5 เซนติเมตร ที่ช่วยส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจ ในขณะที่การรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแร ง ที่ให้ผลดีที่สุดคือการส่งไฟฟ้าพลังงานสูงผ่านหัวใจ เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าหัวใจกลับมาปกติในทันที ซึ่งก็มีเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย ลักษณะคล้ายเครื่อง Pacemaker แต่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เท่า นอกจากนี้ ยังมีวิธีการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง วิธีนี้เป็นการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด โดยผ่านสายสวนหัวใจชนิดพิเศษที่มีขั้วโลหะที่ส่วนปลา ย

ศ.นพ.เกียรติชัยยังแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิ ดจังหวะด้วยว่า ควร หมั่นดูแลสุขภาพตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หรือยากระตุ้นบางชนิดที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนรับประทานยา เพื่อไม่ให้จังหวะหัวใจของคุณสะดุดลงก่อนวัยอันควร.

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon