Monday, June 22, 2009

สนุกสนานกับบรรดาผี ใน"งานประเพณีบุญหลวงการละเล่นผีตาโขน"

จังหวัดเลยเชิญร่วมงาน "ประเพณีบุญหลวงการละเล่นผีตาโขน" ณ บริเวณวัดโพนชัยและหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จ.เลย ในวันที่ 26-28 มิถุนายน 2552 โดยงานบุญหลวงถือเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีประจำท้องถิ่น โดยรวมเอา "งานบุญพระเวส" (ฮีตเดือนสี่) และ "งานบุญบั้งไฟ" (ฮีตเดือนหก) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาช าติทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งเชื่อว่าจะได้อานิสงค์แรงกล้า บันดาลให้พบพระศรีอริยเมตไตรย์ในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารัก ษ์หลักเมืองและถือเป็น ประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งในงานบุญหลวงนี้จะมี "การละเล่นผีตาโขน" ช่วยสร้างความสนุกสนานครื้นเครงในขบวบแห่ด้วย การละเล่นผีตาโขนถือเป็นการแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมอั นดีงามน่าภาคภูมิใจ อย่างหนึ่งของชาว อ.ด่านซ้าย โดยได้ยึดถือปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล

"ผีตาโขน" เป็นการละเล่นชนิดหนึ่งของคนอีสาน ผู้เล่นจะสวมหน้ากากและแต่งตัวให้หน้ากลัว แต่ไม่ใช่การเชิญผีมาเข้าทรง เป็นการเล่นตลกอย่างหนึ่ง ในอดีตคนอีสานนิยมเล่นผีตาโขนในงานบุญบั้งไฟ และงานบุญผะเหวด(พระเวส)มาโดยตลอด เหตุที่มีขบวนแห่ผีตาโขน เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อพระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนาง ผุสดีไปเชิญพระเวสสันดร และพระนางมัทรีกลับเมือง ขบวนแห่แหนเข้าเมือง มีคนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสั นดรร่วมขบวนมาส่งด้วย

ผีตาโขนในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก "ผีตาโขนใหญ่" ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมด าประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ใ นท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัวผีตาโขนชาย1ตัว หญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเ จ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่าง น้อย 3 ปี

ส่วน "ผีตาโขนเล็ก" นั้น ทุกคนไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผ าดโผนและซุกซน

สำหรับหน้ากากผีตาโขนอันเป็นจุดเด่นของชุดผีตาโขนนั้ น ทำจากส่วนที่เป็นโคนของก้านมะพร้าวและหวดนึ่งข้าวเหน ียว โดยนำมาเย็บติดกันแล้วเขียนหน้าตา ทำจมูกเหมือนผี ส่วนชุดแต่งกายของผีมักมีสีฉูดฉาดบาดตา โดยอาจเย็บเศษผ้าเป็นเสื้อตัวกางเกงตัวหรือเย็บเป็นช ุดติดกันตลอดตัวก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องคลุมร่างกายให้มิดชิด

ส่วนเครื่องแต่งตัวประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของผีตาโขน คือหมากกะแหล่งและดาบไม้ โดยหมากกะแหล่ง คือเครื่องดนตรีรูปร่างคล้ายกระดิ่งหรือกระดึงแขวนคอ วัว ผีตาโขนจะใช้หมากกะแหล่งแขวนติดบั้นเอวเมื่อเดินโยกต ัวหรือเต้นเป็นจังหวะ ขย่มตัวสายสะโพกเสียงหมากกะแหล่งก็จะดังเสียงน่าฟังแ ละน่าสนุกสนาน ส่วนดาบไม้ เป็นอาวุธประจำกายผีตาโขนไม่ได้เอาไว้รบกัน แต่เอาไว้ควงหลอกล่อและไล่จิ้มก้นสาวๆ ซึ่งก็จะร้องวิ๊ดว้ายหนีกันจ้าละหวั่น ทั้งอายทั้งขำ แต่ไม่มีใครถือสา เพราะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา เหตุที่วิ่งหนีเพราะปลายดาบนั้นแกะสลักเป็นรูปอวัยวะ เพศชายแถมทาสีแดงให้ เห็นอย่างเด่นชัด การเล่นแบบนี้ไม่ถือเป็นเรื่องหยาบ หรือลามกเพราะมีความเชื่อกันว่าหากเล่นตลกและนำอวัยว ะเพศชายหญิงมาเล่นมา โชว์ในพิธีแห่และงานบุญบั้งไฟจะทำให้พญาแถนพอใจ ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย โทร. 0 4289 1266

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon