Sunday, June 21, 2009

อะเมซิ่ง "เมืองโบราณ" แดนอีสาน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
พระพุทธไสยาสน์ที่วัดธรรมจักรเสมาราม
ภาค อีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ ใครบางคนอาจมองว่าเป็นดินแดนที่ร้อนและแห้งแล้งนั้น แต่ถ้าค้นลึกลงไปจะพบว่าอีสานเป็นภูมิภาคที่รวมเอาสิ ่งดีๆทางการท่องเที่ยว ที่น่าสนใจไว้ไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะเป็น วัดวาอาราม ประเพณีวิถีวัฒนธรรม ดินแดนไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี หรือธรรมชาติอันสวยงามแปลกตา

นอกจากนี้อีสานยังเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณในยุคก่อนปร ะวัติศาสตร์อัน เก่าแก่ ที่นอกจากจะสำคัญมากต่อชาติไทยแล้ว ยังเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญของโลกอีกด้วย ซึ่งทริปนี้ "ตะลอนเที่ยว" มีโอกาสเดินทางสู่อีสานในเส้นทาง "ตามรอยอารยธรรมโบราณ" ที่จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) โดยเริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมาหรือเมืองโคราช ประตูสู่อีสาน ที่ ต.เสมา อ.สูงเนิน เพื่อเที่ยวชม “เมืองเสมา” มีร่องรอยของชุมชนโบราณในสมัยทวารวดี ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 และมีพัฒนาการสืบเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมขอมโบราณ

หลุมขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
เมืองเสมา มีการค้นพบโบราณวัตถุมากมาย โดยมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือคือ “พระพุทธไสยาสน์” หรือ“พระนอนหินทราย” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดธรรมจักรเสมาราม พระนอนองค์นี้ทำจากหินทรายขนาดใหญ่หลายๆก้อนมาประกอบ กัน เป็นพระนอนหินทรายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร โดยรอบๆองค์พระไสยาสน์ยังพบเสมาหินปักล้อมรอบอยู่ด้ว ย

นอกจากนั้นในบริเวณเดียวกันยังขุดพบโบราณวัตถุอย่างธ รรมจักรหินทราย อันเก่าแก่ เป็นรูปซี่กงล้อ ตอนล่างสลักลายคล้ายหน้าพนัสบดี และเสาสำหรับประดิษฐานธรรมจักร รวมทั้งโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น ฐานตั้งรูปเคารพ ส่วนยอดของเจดีย์ แท่นบดยา ชิ้นส่วนประกอบอาคาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำมาจัดแสดงไว้ในศาลาภายในวัดธรร มจักรเสมารามนั่นเอง

ฐานที่ตั้งเทวรูปในปราสาทเมืองแขก
ส่วนโบราณสถานที่ยังหลงเหลือหลักฐานให้เห็นว่ามีชุมช นโบราณอยู่ที่ นี่ก็มีอยู่ 3 แห่งด้วยกัน คือ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ และปราสาทเมืองเก่า ปราสาทเมืองแขกเป็นโบราณสถานขนาดค่อนข้างใหญ่ ก่อด้วยอิฐและหินทราย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในการขุดแต่งพบทับหลังแกะสลักลวดลายต่างๆ ประติมากรรมเทวรูป และศิลาจารึก สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์

ส่วนปราสาทโนนกู่เป็นปราสาทขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู และปราสาทเมืองเก่านั้นสันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานในศ าสนาพุทธลัทธิมหายานประ เภทอโรคยาศาล

ที่โคราชยังมีแหล่งอารยธรรมโบราณอีกแห่งหนึ่งที่สำคั ญ ทั้งยังเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง นั่นก็คือ “แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท” ในอำเภอโนนสูง ซึ่งมีหลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชมทั้งหมด 3 แห่งด้วยกัน โดยระดับของหลุมขุดค้นทั้งสามที่มีความลึกที่สุดคือป ระมาณ 5.50 เมตร ขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์ในยุค 3,000 ปีก่อน ส่วนในระดับชั้นดินที่ตื้นขึ้นมาก็จะพบโครงกระดูกมนุ ษย์ที่มีอายุน้อยลง ซึ่งก็ทำให้เห็นหลักฐานการอยู่อาศัย และประเพณีการฝังศพของผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่เมื่อ 3,000 ปีก่อน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

หลุมขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
การขุดค้นนี้พบโครงกระดูกจำนวน 60 โครง มีทั้งเพศชาย เพศหญิง เด็กและทารก ทั้งยังพบโบราณวัตถุอย่างเครื่องประดับ กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด ภาชนะดินเผา รูปปั้นดินเผา เป็นต้น สำหรับใครที่สนใจอยากจะใช้เวลาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ อยู่ในบ้านปราสาทนานๆ ที่นี่เขาก็มีโฮมสเตย์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวด้วยละ

จากโคราช เดินทางกันต่อมาถึงเมืองน้ำดำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่อำเภอกมลาไสยนั้นก็มีเมืองโบราณที่มีร่องรอยของกา รอยู่อาศัยมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 นั่นก็คือ “เมืองฟ้าแดดสงยาง”

โบราณวัตถุที่พบมากที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยางก็คือใบเ สมาหินทราย ซึ่งพบกระจัดกระจายอยู่รอบๆพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณศาสนสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น เจดีย์ อุโบสถ หรือเนินดินที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเ ข้าใจว่าเป็นสถานที่ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยใบเสมาเหล่านี้แบ่งได้หลายประเภทด้วยกัน ทั้งแบบแผ่นเรียบไม่มีการแกะสลัก แบบแผ่นหินอกเลาสลักรูปกลีบบัวที่ฐาน แบบแท่งหินรูปสี่เหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยม รวมไปถึงแบบแผ่นหินที่สลักเรื่องราวทางศาสนาไว้

พระธาตุยาคู พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง
แผ่นหินเหล่านี้ส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์ชัย เสมาราม โดยเสมาสลักภาพที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งนั้นเ ป็นใบเสมาสลักภาพเล่า เรื่องพิมพาพิลาป หรือเรื่องราวเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดนางพิมพา พระชายาของพระองค์เมื่อครั้งที่ยังเป็นเจ้าชายสิทธัต ถะ ใบเสมาชิ้นนี้ถูกก่อปูนยึดไว้กับพื้นอย่างดี เพราะหาไม่คงจะถูกยกไปขายเสียนานแล้ว

โบราณสถานในเมืองฟ้าแดดสงยางที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ จะพลาดชมไม่ได้ก็คือ “พระธาตุยาคู” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในสมัยทวารวดีที่มีขนาดใหญ่และสม บูรณ์ที่สุดในเมืองฟ้า แดดสงยาง เนื่องจากได้รับการบูรณะในหลายยุค จึงทำให้พระธาตุยาคูมีฐานแบบทวารวดี ตอนกลางพระธาตุเป็นแบบอยุธยา ส่วนตอนปลายเป็นแบบรัตนโกสินทร์ และยังพบใบเสมารอบๆ องค์เจดีย์อีกหลายชิ้นด้วยกัน พระธาตุองค์นี้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านในแถบนี้ เป็นอย่างมาก มีเรื่องเล่าปาฏิหาริย์มากมายหลายเรื่องเกี่ยวกับองค ์พระธาตุ หากอยากรู้คงต้องหาโอกาสมาฟังด้วยตนเอง

ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
มาที่จังหวัดอุดรธานีกันบ้าง ที่นี่ไม่ต้องกล่าวอะไรมาก เพราะชื่อของ “แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง” อัน ได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม คงจะเป็นที่การันตีได้ถึงความเก่าแก่ และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนี้เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก ่อนประวัติศาสตร์ที่ เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย อายุราว 5,600 ปี มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานและว ัฒนธรรมของชุมชนสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีการพั ฒนาในทุกด้าน โดยโบราณวัตถุที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชีย งนั้นก็คือเครื่องปั้น ดินเผาลายเขียนสีนั่นเอง

หากอยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชีย งอย่างละเอียดก็ต้องมาเริ่มต้นที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง” พิพิธภัณฑ์ทันสมัยที่รวบรวมเอาโบราณวัตถุหลายหมื่นชิ ้นที่ขุดค้นพบมาจัดแสดง ไว้ให้ชม พร้อมทั้งมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบ้านเชียงอย่างครบ ถ้วน แต่หากอยากเห็นสภาพพื้นที่จริงซึ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เปิดหรือหลุมขุดค้น ก็ต้องมาที่ “วัดโพธิ์ศรีใน” ที่ยังคงรักษาสภาพการขุดค้น มีโครงกระดูกและเครื่องปั้นดินเผาที่แสดงให้เห็นถึงป ระเพณีการฝังศพของคนในสมัยนั้น

ที่ “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” ในอำเภอบ้านผือ ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานีซึ่งมีร่องรอยขอ งอารยธรรมโบราณแฝงอยู่ ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภู มิประเทศในเวลาเดียวกัน

ที่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศนั้นก็เพร าะในอุทยานฯนี้ มีโขดหินทรายน้อยใหญ่ที่ถูกขัดเกลาจากกระบวนการกัดกร ่อนของธรรมชาติทั้งลม และฝน จนทำให้โขดหินเหล่านั้นมีรูปร่างต่างๆกัน และก่อเกิดเป็นตำนานพื้นบ้านอย่างเรื่อง “นางอุสา-ท้าวบารส”

และโขดหินเหล่านี้นั้นก็มีร่องรอยของมนุษย์ในยุคโบรา ณก่อนประวัติ ศาสตร์ ราว 2,000-3,000 ปี ซึ่งมาพักอาศัยอยู่บนโขดหินและเพิงผาธรรมชาติ มีหลายจุดในภูพระบาทที่พบสถานที่ซึ่งสันนิษฐานว่าเคย เป็นที่อยู่อาศัยใช้ เป็นห้องนอนและสถานที่ประกอบอาหาร อีกทั้งยังพบภาพเขียนสีธรรมชาติเป็นรูปคน และสัตว์ตามเพิงหินอีกด้วย

หอนางอุสา แหล่งอารยธรรมที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
และยังพบว่าบริเวณนี้ยังได้รับอิทธิพลในสมัยทวารวดีอ ีกด้วย เพราะโขดหินหลายๆ แห่งได้ใช้เป็นศาสนสถาน ทั้งหอนางอุสา เพิงหินคอกม้าน้อย ถ้ำฤาษี เป็นต้น เพราะพบหลักฐานจากการปักใบเสมาหินขนาดใหญ่ล้อมรอบเอา ไว้ ไม่เพียงแต่ในยุคทวารวดีเท่านั้น แต่ยังพบอิทธิพลจากเขมร และวัฒนธรรมล้านช้างบนภูพระบาทอีกด้วย

ปิดท้ายเส้นทางอารยธรรมโบราณแห่งสุดท้ายในเส้นทางกลั บที่ “เมืองโบราณโนนเมือง” ที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ชุมชนเก่าแก่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประ วัติศาสตร์เรื่อยมาจน ถึงสมัยทวารวดี การขุดค้นพบว่ามีการสร้างเมืองขนาดใหญ่โดยขุดคูเมือง และก่อคันดินเป็นกำแพง เมือง อีกทั้งยังพบกลุ่มใบเสมาในตัวเมืองโนนเมือง จึงเชื่อว่าเมืองแห่งนี้อาจเป็นศูนย์กลางทางศาสนาหรื อเป็นที่ประกอบพิธีทาง ศาสนาอีกด้วย

หลุมขุดค้นที่เมืองโบราณโนนเมือง
ในหลุมขุดค้นที่มีการขุดขึ้นที่โนนเมืองนั้น พบโครงกระดูกทั้งหมด 34 โครง พบว่าเป็นโครงกระดูกมนุษย์ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสต ร์ตอนปลายทั้งสิ้น คือมีอายุประมาณ 2,500-2,000 ปีมาแล้ว อีกทั้งยังพบเครื่องมือเหล็กประเภทจอบ ใบมีด เคียว และกระดูกสัตว์อย่างวัว ควาย เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด ทำให้ทราบว่าผู้คนในเมืองนี้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยเกษตรก รรมและเลี้ยงสัตว์เช่น เดียวกับชุมชนโบราณอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ ใน “เส้นทางตามรอยอารยธรรมโบราณ” ซึ่งหากใครที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ อยากเห็นหรือสัมผัสกับมนุษย์โบราณอย่างใกล้ชิด “ตะลอนเที่ยว” แนะนำว่าไม่ควรพลาดเส้นทางนี้ด้วยประการทั้งปวง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

การท่องเที่ยวในเส้นทาง “ตามรอยอารยธรรมโบราณ” หากอยากเที่ยวให้สนุกควรมีมัคคุเทศก์ที่สามารถบรรยาย ถึงความเป็นมาของสถาน ที่แต่ละแห่ง ผู้ที่สนใจท่องเที่ยวในเส้นทางนี้สามารถติดต่อสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ ททท. Call Center 1672 สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ โทร.0-2270-1505 ถึง 8 สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย โทร.0-2246-5659 สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย โทร.0-2887-8802 ถึง 3 สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย โทร.0-2998-0744

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon