Sunday, June 21, 2009

มี "บ้านเล็ก" กันเถอะ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ .
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.tumbleweedhouses.com
มี โอกาสไปร่วมฟังเสวนาดี ๆ ซึ่งจัดขึ้นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ในหัวข้อ "บ้านเล็ก" (Small House) ที่ไม่ใช่ "บ้านเล็กบ้านน้อย" หรือมือที่สามที่จะเข้ามาทำลายความสงบสุขของชีวิตครอ บครัวแต่อย่างใดค่ะ เพราะมันเป็นการพูดถึง "บ้านหลังเล็ก ๆ" ที่พอเพียงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน บ้านที่ทำให้คนเราตอบกับตัวเองได้ว่า เราได้ตอบแทนกลับคืนสู่ธรรมชาติไปบ้างด้วยการไม่ฟุ้ง เฟ้อจนเกินความจำเป็น ไม่ต้องเปิดไฟหลาย ๆ ดวงเพื่อให้บ้านสว่าง ไม่ต้องเปิดแอร์ 4 - 5 ตัวให้บ้านเย็นฉ่ำ รวมถึงไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำยาทำความสะอาดเป็นแกลลอน ๆ กว่าจะถูบ้านทั่วทั้งหลัง ฯลฯ เป็นต้น

บ้าน เล็กในที่นี้ จึงเป็นเทรนด์ดี ๆ ที่มาแรงของโลกอีกเทรนด์หนึ่ง โดยในบางประเทศ เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา การมีบ้านหลังเล็ก ๆ เป็นอีกหนึ่งหนทางการสร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเอง ในแง่ของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง สมถะ เรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แถมคนที่ทำเช่นนั้น มักเป็นคนมีฐานะ มีการศึกษา เพียงแต่มีแนวคิดหรือค่านิยมที่แตกต่างออกไป เช่น ต้องการความเรียบง่าย ไม่หรูหรา หรือชีวิตที่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นต้น

อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรม ก็ได้ทำให้การอยู่อาศัยในบ้านเล็กเปลี่ยนแปลงไปจากหน ้ามือเป็นหลังมือ ทั้ง รูปแบบการก่อสร้างที่ล้ำหน้า การผนวกเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับบ้านเล็ก เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้อยู่อาศัย การดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามควา มต้องการใช้งาน ฯลฯ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้มันกลายเป็นบ้านเล็กน่าอยู่ แถมยังลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างด ี

โดยในต่างประเทศ ได้มีขบวนการก่อสร้างบ้านหลังเล็กเกิดขึ้น โดยมีสถาปนิกชื่อ Sarah Susanka เป็นคนต้นเรื่อง เมื่อเธอเขียนหนังสือชื่อ "The Not So Big House" และได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก โดยเธอบอกว่า "บ้านที่ใหญ่โตเกินเหตุหรือสร้างเอาไว้เพื่ออวดคนนั้น เป็นสถานที่ที่ก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้อยู่อาศัย และบางห้องมีแต่คนทำความสะอาดเท่านั้นจึงจะเข้าไป"

บรรยากาศภายในบ้าน
อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงค่านิยมเกี่ยวกับบ้าน เชื่อว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงใช้บ้านเป็นสิ่ง บ่งบอกฐานะทางสังคม บ่งบอกสถานะทางการเงิน หน้าตา รวมไปถึงการมีเกียรติยศ - ศักดิ์ศรี ยิ่งบ้านหลังใหญ่เท่าไร ฐานะทางสังคมก็ดูจะยิ่งใหญ่ตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม พอเอ่ยว่ามีบ้านหลังเล็ก ๆ หรือมีอพาร์ทเมนต์ ห้องเช่า ห้องแถว จินตนาการของผู้ฟังก็พร้อมจะนึกภาพของบ้านคุณภาพต่ำ หรือบ้านที่ตั้งอยู่ในชุมชนแออัดขึ้นมาแทบจะทันที

แต่ ใครจะทราบบ้างว่า การมีบ้านหลังใหญ่ ๆ หรือ "Super sized Homes" แอบซุกซ่อนข้อด้อยอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนการก่อสร้างราคาแพง ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซมสูง จะทำความสะอาดแต่ละครั้ง อาจหมดเวลาเป็นวัน ๆ หรือไม่ก็ต้องจ้างผู้ช่วยมาดูแลทำความสะอาดบ้านให้ จะดูแลบ้านให้ทั่วถึงก็อาจต้องติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือในบางสังคมอาจถูกกล่าวหาว่า เป็นตัวการในการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง เป็นคนฟุ่มเฟือย ไม่เป็นมิตรกับธรรมชาติด้วยก็เป็นได้ค่ะ

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นค่านิยมของคนในสังคมที่เปลี่ยนได้ยาก สักหน่อย แต่ผู้เขียนเองก็เห็นด้วยกับอาจารย์และนักวิชาการจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลายท่านที่ออกมาให้ข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการบริโภคบ้านเล็กในต่างแดน และก็เชื่อว่า เราถึงเวลาที่ต้องทบทวนค่านิยมเกี่ยวกับการบริโภค "บ้าน" กันบ้างแล้ว ก่อนที่จะสายเกินไป

ลองถามตัวเองกันหรือยังว่า..วันนี้คุณมีบ้านแบบไหนคะ

สนใจหาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านเล็กเพิ่มเติม
www.small-house-building.com

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon