Friday, June 12, 2009


เว็บไซต์ lcdspec.com เผย 7 เหตุผลดีๆที่ผู้ใช้งานจอโทรทัศน์ทั่วไป ควรนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อเปลี่ยนมาใช้โทรทัศน์คว ามละเอียดสูง แน่นอน! หลายคนคงมีคำถามผุดขึ้นมาในหัวสมองมากมาย เพราะปกติใช้ SDTV นอนดูหนัง DVD ที่บ้านภาพก็คมชัดมากอยู่แล้ว แต่เจ้า HDTV ที่ว่านี่มันดีกว่าตรงไหนน๊าา

เราคงไม่ปฏิเสธแน่ๆ ว่าปัจจุบันนี้จอโทรทัศน์บางๆ อย่างจอ LCD หรือ Plasma ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก เวลาที่คุณไปเดินในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าของห้างร้านต่ างๆ คุณจะพบว่า HDTV (High-definition Television) ได้ขโมยเนื้อที่บนชั้นโชว์สินค้าไปเกือบหมดแล้ว และทีวีแบบคลาสสิก (SDTV: Standard-definition Television) หรือทีวีจอแก้วหุ่นเทอะทะที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นกำลั งถูกลดฐานะไปตั้งอยู่ในชั้นโชว์สินค้าที่อยู่มุมใดมุ มหนึ่งของร้านที่ไม่ค่อยสะดุดตานัก แถมยังขายลดราคากันถล่มทลายเสียด้วย
เปรียบเทียบ SDTV (ซ้าย) และ HDTV (ขวา)

ไม่เพียงแต่ในวงการโทรทัศน์เท่านั้น วงการคอมพิวเตอร์ก็มีการใช้ LCD Panel อย่างกว้างขวางมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (หรือโน้ตบุ้คคอมพิวเตอร์นั่นเอง) และสำหรับเครื่องตั้งโต๊ะอย่างเครื่องเดสก์ท็อปเองก็ หันมาใช้จอ LCD เช่นเดียวกัน เนื่องจากมันมีขนาดที่เล็กกว่า ทำให้กินเนื้อที่บนโต๊ะทำงานของคุณน้อยลง นอกจากนั้นมันยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สาม ารถแสดงภาพที่ความละเอียดสูงขึ้นเรื่อยๆ และยังมีผลพลอยได้ในแง่ของการประหยัดพลังงาน เพื่อช่วยโลกของเราอีกด้วย

จอ LCD monitor เมื่อเปรียบเทียบกับจอ CRT -- ภาพ : behardware.com

ถึงแม้ว่าหน้าจอแสดงผลจะ "แบน" เหมือนกันก็ตาม แต่จอ LCD ด้านขวาก็มีภาษีเหนือกว่าในแง่ของขนาดและน้ำหนัก -- ภาพ : dell.com

แม้กระทั่งอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น เครื่องเล่นวิดีโอแบบพกพา หรือโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันต่างก็เริ่มสนับสนุนสื่อความละเอียดสูง เช่นภาพนิ่งความละเอียดสูง และวิดีโอความละเอียดสูงมากขึ้น และอุปกรณ์เหล่านี้ก็มีการใช้จอแสดงผลแบบต่างๆ เช่นจอ LCD หรือ OLED ที่ความละเอียดสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับความต้องการของสื่อดิจิตอลที่มีความละเอี ยดสูงขึ้นนั่นเอง

แม้แต่จอ LCD และ OLED บนโทรศัพท์มือถือก็ยังมีความละเอียดสูงตามไปด้วย ต้องขอขอบคุณอิทธิพลของสื่อมัลติมีเดียความละเอียดสู ง
แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็น SDTV หรือ HDTV มันก็คือ TV อยู่วันยังค่ำ เพราะฉะนั้นหลักการต่างๆ ที่เรารู้จักในสมัยที่เราใช้จอแก้ว (SDTV) หลายๆ หลักการก็ยังสามารถเอามาใช้ได้อยู่ เช่นในเรื่องระบบภาพ หรือระบบเสียง เป็นต้น

ความจริงข้อหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ผู้ผลิตจอโทรทัศน์หลายๆ รายได้สร้างมาตรฐานต่างๆ ขึ้นมาเพื่อสร้างแรงดึงดูดใจ และโน้มน้าวให้เราคิดว่ามาตรฐานการแสดงภาพที่พวกเขาค ิดค้นขึ้นมาใหม่นั้นดีกว่าแบบเก่าๆ เพียงใด ซึ่งส่งผลให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้บริโภค เมื่อก่อนนี้ทีวีที่เรารู้จักกันมันคือ "ทีวี" อย่างเดียว แต่ปัจจุบันนี้มีมาตรฐานทีวีใหม่ๆ (พร้อมคำศัพท์แปลกๆ) เกิดขึ้นมาอีกมากมาย เช่น SDTV, EDTV, HDTV, 480i, 480p, 576p, 720p, 1080i, progressive scan, component video และ HDMI เป็นต้น

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้คุณคิดว่าคุณสับสนในระดับหนึ่งแล้ ว หากคุณเดินไปที่ร้านขายโทรทัศน์ในวันนี้โดยไม่ได้ศึก ษาข้อมูลก่อน และเดินเข้าไปคุยกับคนขาย คุณจะพบว่ายังมีศัพท์ทางเทคนิคชวนปวดหัวอีกมากมายเกี ่ยวกับ HDTV และคนขายอาจไม่ได้รับการอบรมอย่างเพียงพอที่จะให้ข้อ มูล และเปรียบเทียบความแตกต่าง และข้อดีข้อเสียของจอต่างๆ โดยละเอียดกับคุณได้ และคุณอาจถูกยัดเยียดให้ซื้อ HDTV รุ่นที่จัดโปรโมชั่นอยู่ ณ เวลานั้นโดยที่คุณไม่มีโอกาสได้เลือก และทดลอง HDTV ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณอย่างแท้จริงได้

ความเป็นมาของ HDTV

กว่าจะมาเป็น HDTV ที่เราเห็นอย่างทุกวันนี้นั้น คำว่า "HDTV" หรือ High-definition Television นั้นได้ถูกบัญญัติขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว ประวัติของ HDTV นั้นค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว ผู้เขียนจึงอยากให้คุณได้ศึกษามันเสียก่อนที่เราจะว่ ากันด้วยเรื่องความแตกต่างหลักๆ ระหว่าง HDTV กับ SDTV หากคุณไม่สนใจรายละเอียดในส่วนนี้ สามารถข้ามไปอ่านในหัวข้อถัดไป ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติหลักๆ ของ HDTV ว่ามันเหนือกว่า SDTV ที่เราใช้กันอยู่อย่างไร และทำไมพวกมันจึงกำลังจะเข้ามาเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับ อนาคต

คำว่า "High definition" ก่อนหน้านี้ได้ถูกใช้กับระบบโทรทัศน์ตั้งแต่ปลายๆ ยุค 1930 โดยในสมัยนั้นทีวีได้เริ่มออกอากาศในสหราชอาณาจักรด้ วยความละเอียดระดับ 240 เส้น ตามมาด้วยการออกอากาศด้วยภาพขาวดำความละเอียดระดับ 405 เส้นในปี 1936 และในที่สุดก็เริ่มออกอากาศด้วยระบบ NTSC ความละเอียด 525 เส้น ในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1941 โดยคำว่า "high definition" ในสมัยนั้นถูกใช้เพื่อเป็นการแสดงความเหนือกว่าทีวีร ะบบเก่าๆ ซึ่งแสดงภาพด้วยความละเอียดที่ต่ำกว่าเท่านั้น

มาตรฐานโทรทัศน์ต่อไปนี้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมร ับในอดีต และบางมาตรฐานก็ได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องจนถึงป ัจจุบัน ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ถือว่าเป็น "มาตรฐานทีวีในปัจจุบัน" หรือ "Standard-definition (SD)" นั่นเอง

1. ปี 1936 : ระบบ System-A, ใช้ในประเทศอังกฤษ มีความละเอียด 405 เส้น และแสดงผลที่ 50 Hz ระบบนี้ได้ถูกยกเลิกไปในปี 1986
2. ปี 1938 : ระบบออกอากาศด้วยความละเอียด 441 เส้น ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ยกเลิกการออกอากาศด้วยระบบน ี้ในปี 1956
3. ปี 1939 : ระบบ System-M ออกอากาศในสหรัฐอเมริกาด้วยความละเอียด 525 เส้นที่ 60 Hz
4. ปี 1949 : ฝรั่งเศสออกอากาศโทรทัศน์แบบขาวดำด้วยความละเอียด 819 เส้น ที่ 50 Hz และยกเลิกไปในปี 1983
5. ปี 1952 - 1956 : เริ่มมีการยอมรับการออกอากาศด้วยความละเอียด 625 เส้น ที่ 50 Hz อย่างกว้างขวางในยุโรป และเริ่มมีการออกอากาศภาพสีเป็นครั้งแรกในปี 1967

ระบบโทรทัศน์ดังกล่าวเกือบทุกระบบยกเว้นแบบ 405 เส้น ได้ออกอากาศด้วยสัดส่วนภาพแบบ 4:3 และเป็นแบบ Interlace (ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัดส่วนภาพ, ระบบ NTSC, ระบบ PAL, Scanline และ refresh rate ได้จากบทความที่เกี่ยวข้องที่ www.lcdspec.com)

เมื่อเข้าสู่ยุคปี 2000 การออกอากาศโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิตอลแบบ High-definition หรือที่เรียกว่าระบบ DVB นั้นได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการกำหนดให้ระบบทีวีแบบ 525 เส้น (NTSC) และ 625 เส้น (PAL และ SECAM) เป็นระบบโทรทัศน์แบบ SD (Standard Definition) ทั้งหมด ยกเว้นแต่ในประเทศออสเตรเลียเพียงประเทศเดียวที่กำหน ดให้ระบบ 625 เส้นแบบ Progressive เป็นระบบ High-definition

สำหรับฟรีทีวี (ช่อง 3, 5, 7, 9 และอื่นๆ) และเคเบิลทีวีที่ออกอากาศในบ้านเราทั้งหมด ณ เวลาที่เรียบเรียงบทความนี้ มีการออกอากาศด้วยระบบ PAL แบบ 625 เส้น (แต่มีเพียง 576 เส้นเท่านั้นที่ใช้งานจริง) ฉะนั้นความหวังเรื่องฟรีทีวีในบ้านเราจะออกอากาศเป็น ระบบดิจิตอลแบบ High definition ในเร็ววันนั้นยังมืดมนอยู่

อย่างไรก็ตาม หากคุณซื้อ HDTV ในวันนี้ คุณก็อุ่นใจได้เลยว่าทีวีของคุณนั้นจะสามารถรองรับสั ญญาณฟรีทีวีความละเอียดสูงในอนาคตได้ แต่เนื่องจาก HDTV ที่ขายในบ้านเราส่วนใหญ่ไม่ได้บรรจุภาครับสัญญาณดิจิ ตอลเข้ามาด้วย ในกรณีนื้คุณจำเป็นจะต้องซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิตอลเ พื่อมาต่อกับ HDTV ของคุณอีกทีหนึ่ง เมื่อถึงวันที่บ้านเราหันมาส่งสัญญาณฟรีทีวีแบบดิจิต อลจริงๆ

เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนมาใช้ HDTV

"เอ... ผมใช้ SDTV ที่บ้านดูหนัง DVD ภาพก็คมชัดมากอยู่แล้ว แล้ว HDTV มันดีกว่าตรงไหนครับ?"

เหตุผลที่ 1 : รายละเอียดของภาพ

หากคุณข้ามหัวข้อเกี่ยวกับประวัติของ HDTV มาอ่านที่หัวข้อนี้เลย ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบทีวีที่เราคุ ้นเคยกันในปัจจุบันนั้นเป็นแบบ SD (Standard Definition) ฟรีทีวีในบ้านเรา (ช่อง 3, 5, 7, 9 และอื่นๆ), หนังวีซีดี, ดีวีดี และภาพจากเกม Playstation และ Playstation 2 จัดว่าเป็นแบบ SD ทั้งสิ้น

สิ่งแรกที่สะดุดตาคุณมากที่สุดเมื่อคุณได้มีโอกาสชม HDTV เป็นครั้งแรกนั่นคือความละเอียด และความคมชัดของภาพแบบ HD (High definition) เมื่ออธิบายด้วยภาษาง่ายๆ แบบไม่ใช่เชิงเทคนิค ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์ (ไม่ว่าจะเป็นแบบ SD หรือ HD ก็ตาม) จะประกอบไปด้วย "จุด" หรือ "พิกเซล (pixel)" จำนวนมหาศาลที่เรียงชิดกันเป็นภาพที่เราเห็นบนจอ ฉะนั้น ยิ่งภาพมีจำนวนพิกเซลเรียงหนาแน่นมากเท่าใด คุณก็สามารถสังเกตเห็นรายละเอียดเล็กๆของภาพได้มากขึ ้นเท่านั้น ซึ่งตีความได้ว่าภาพที่ได้จะคมชัดกว่านั่นเอง แน่นอนว่าระบบ SD มีจำนวนพิกเซลที่ประกอบเป็นภาพน้อยกว่าระบบ HD หลายเท่า จึงทำให้ภาพแบบ SD นั้นดูหยาบกว่า โดยเฉพาะเมื่อนำไปแสดงบนจอที่มีขนาดใหญ่

ภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาพที่ได้จา กสัญญาณ SD กับ HD จากภาพคุณจะเห็นว่า ยิ่งภาพมีจำนวนพิกเซลมากขึ้นเท่าใด ภาพก็จะคมชัดมากขึ้นเท่านั้น

ภาพ : hdtvsolutions.com

เมื่อสังเกตภาพข้างบน คุณจะพบว่า
- ภาพแรกจากด้านซ้ายมือนั้นเป็นภาพที่มีความละเอียด HD แบบ 1080 เส้น
- ภาพตรงกลางเป็นภาพที่มีความละเอียด HD แบบ 720 เส้น
- ภาพขวามือเป็นภาพแบบ SD ที่มีความละเอียด 480 เส้น
- ภาพแบบ HD 1080 จะมีความคมชัดสูงสุด เนื่องจากจำนวนพิกเซลที่มากกว่า รองลงมาคือภาพแบบ HD 720 และภาพแบบ SD (480 เส้น) นั้นมีความคมชัดต่ำที่สุด

เมื่อคุณไปเดินซื้อหา HDTV ในห้างสรรพสินค้าสักเครื่อง คุณจะพบ HDTV แบบ 720p หรือ 768p ที่ผู้ผลิตเรียกว่า "HD Ready" และแบบ 1080p หรือที่ผู้ผลิตเรียกว่า "Full HD" นั่นเอง ถึงแม้ว่าคำว่า "HD Ready" นั้นจะค่อนข้างก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามันไม่ใช่ HD อย่างแท้จริงก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง "HD Ready" และ "Full HD" ก็ถือว่าเป็นมาตรฐาน HDTV ทั้งคู่ ทั้งสองคำดังกล่าวจึงถือว่าเป็น term ทางการตลาดเพื่อแยกแยะระหว่างจอแบบ 720p กับจอ 1080p เท่านั้น

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับความละเอียด (resolution) ของภาพ และความแตกต่างของ 480i, 480p, 720i, 720p, 1080i และ 1080p คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ lcdspec.com

เหตุผลที่ 2 : คุณภาพของภาพ (Picture Quality)

เกณฑ์การตัดสิน HDTV นั้น อยู่ที่ความสามารถในการแสดงภาพของพวกมัน ซึ่งเกณฑ์เหล่านี้สามารถนำมาตีวงให้แคบลง และแบ่งออกเป็นการตัดสินในแง่ต่างๆ เช่น ความคมชัด (sharpness), คอนทราสต์ (contrast), และสี (color) เราจึงสามารถตัดสินคุณภาพของภาพที่แสดงบนจอด้วยองค์ป ระกอบเหล่านี้ (แต่องค์ประกอบเหล่านี้ก็ไม่ใช่ประเด็นในการพิจารณาท ั้งหมด เพราะการตัดสินคุณภาพจะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจาก 3 องค์ประกอบที่กล่าวไปแล้วในการตัดสินด้วย)

แน่นอนว่า HDTV สามารถแสดงภาพที่คุณภาพดีกว่า SDTV อยู่หลายขุม แต่ปัญหาก็คือ คำว่า "ภาพสวย" หรือ "คมชัด" นั้นค่อนข้าง subjective (เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความคิดเห็นแตกแยก) ยกตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะชอบภาพที่มีสีสันจัดจ้าน ในขณะที่บางคนชอบภาพที่มีสีสันแบบธรรมชาติ การเลือก HDTV ที่แสดงภาพได้สวยถูกใจคุณ จะต้องอาศัยการทำการบ้านโดยการรวบรวมข้อมูล และความแตกต่างทางเทคนิคเสียก่อน และบวกกับความชอบและความพึงพอใจส่วนตัวของคุณเป็นหลั ก

เนื่องจากเราได้เข้าสู่โลกดิจิตอลของ HDTV จึงทำให้คุณภาพของภาพที่แสดงบนจอนั้นดีกว่าภาพบน SDTV ทั่วไป เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลถูกรบกวนได้ยากกว่าสัญญาณอนาล ็อก จึงทำให้โอกาสที่สัญญาณภาพจะถูกรบกวนจนผิดเพี้ยนไปนั ้นมีน้อยกว่า

ภาพจาก Panasonic TH-42PH10UK 42" Plasma


เหตุผลที่ 3 : ความสามารถในการแสดงผลจากสื่อความละเอียดสูง (High definition content)

แน่นอนว่าหากคุณตัดสินใจที่จะซื้อ HDTV สักเครื่อง คุณคงมีแผนที่จะเอา HDTV ตัวเก่งของคุณมาแสดงภาพ HD แน่ๆ เพราะคุณคงคงไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จาก HDTV เท่าใดนัก หากคุณเอามันมาแสดงภาพแบบ SD

อีกหนึ่งเหตุผลที่ HDTV กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในต่างประเทศคือ ในต่างประเทศมีเริ่มมีการออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์ดิจิ ตอลแบบ HD แล้ว ณ เวลาที่เรียบเรียงบทความนี้ สถานีโทรทัศน์ช่องหลักๆ ในสหรัฐอเมริกาได้ทยอยแพร่ภาพแบบ HD ตั้งแต่ ต้นปี 2009 ซึ่งกำหนดการเดิมนั้นทีวีทุกช่องในสหรัฐอเมริกาจะเป็ นแบบดิจิตอลทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 แต่เนื่องจากติดขัดในแง่ของความพร้อมของประชาชน ทำให้สภาสูงแห่งสหรัฐอเมริกาประกาศเลื่อนเส้นตายการอ อกอากาศแบบดิจิตอลไปเป็นเดือนเมษายน ปี 2009


ซีรี่ส์ดังเรื่อง "Lost" ในแบบ HD -- เครดิตภาพ: flickr.com


ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถซื้อกล่องรับสัญญาณ HD มาต่อกับ SDTV ตัวเก่าของคุณเพื่อรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลก็ตาม คุณจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากความละเอียดของภาพท ี่เพิ่มขึ้นจากสัญญาณ HD การที่สถานีโทรทัศน์เปลี่ยนมาออกอากาศแบบ HD จึงเป็นการบังคับทางอ้อมให้คุณเปลี่ยนโทรทัศน์นั่นเอ ง

สำหรับบ้านเรา เนื่องจากโครงการออกอากาศแบบ HD ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง เมื่อคุณซื้อ HDTV ในวันนี้ คุณจึงต้องบริโภคสื่อความละเอียดสูง (High definition content) จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ฟรีทีวีไปก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีตัวเลือกให้คุณมากมาย เช่น

- สัญญาณภาพจากเครื่องเล่นบลูเรย์ดิสก์
- สัญญาณภาพจากเครื่อง Upscaling DVD Player (เครื่องดีวีดีอัพสเกล)
- สัญญาณภาพ HD จากเครื่องเล่นเกม (Game console) ใหม่ๆ เช่น Xbox 360 และ Playstation 3
- ภาพนิ่งจากกล้องดิจิตอลความละเอียดสูง
- ภาพวีดีโอจากกล้องวีดีโอแบบ HD
- ภาพจากไฟล์ภาพยนตร์ความละเอียดสูงจากอินเทอร์เน็ต เช่นไฟล์ WMV-HD, MKV, MP4-AVC เป็นต้น
- การต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงภาพความล ะเอียดสูง เช่น การชมภาพนิ่ง การเล่นเกม และการชมคลิปภาพยนตร์ความละเอียดสูง

ตัวอย่าง "ของเล่นไฮเทค" ที่สามารถให้กำเนิดสัญญาณ HD

เหตุผลที่ 4 : ขนาด

เนื่องจากคอนเทนต์แบบ HD นั้นมีความละเอียดสูง จึงทำให้มันสามารถแสดงบนจอขนาดใหญ่ๆ ได้โดยไม่ทำให้ภาพเบลอมากนัก HDTV จึงมีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสวรรค์สำหรับนักชมภาพยนตร์เลยทีเดียว เพราะจอที่ใหญ่ขึ้นจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการชมภาพยนตร์ ของคุณได้เป็นอย่างมาก

คุณสามารถบอกลา SDTV ขนาดจิ๋วไปได้เลย เพราะ HDTV นั้นมีให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดไม่ถึง 20 นิ้ว ไปจนถึงขนาดเป็นร้อยนิ้ว จอ HDTV แบบ LCD มีขนาดเริ่มต้นที่ 19 นิ้ว ส่วนจอพลาสมานั้นมีขนาดเริ่มต้นที่ 42 นิ้ว (แต่มีพลาสมาบางยี่ห้อที่เริ่มต้นด้วยขนาด 32 นิ้ว เช่น LG และ Vizio) หลายๆ คนคิดว่า "ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า" แต่นั่นไม่เป็นความจริงเสมอไป การเลือกขนาด HDTV ที่เหมาะสม นอกจากพิจารณาจากงบประมาณแล้ว จะต้องพิจารณาถึงระยะห่างที่คุณตั้งใจว่าจะรับชมเป็น หลัก สำหรับวิธีการเลือกขนาดจอที่เหมาะสม สามารถศึกษาได้จากบทความในเว็บไซต์ lcdspec.com

จอ HDTV ขนาด 103 นิ้ว เรียงชิดกัน 3 ตัวจาก Panasonic

เหตุผลที่ 5 : ความสามารถ และลูกเล่นต่างๆ ของ HDTV

ปัจจุบันผู้ผลิตได้หันไปโฟกัสที่การผลิต HDTV มากกว่า SDTV ทำให้ HDTV ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีลูกเล่นต่างๆ ให้คุณเลือกมากมายตามความต้องการ รสนิยม และงบประมาณในกระเป๋าของคุณ ตัวอย่างของฟีเจอร์เหล่านี้คือ

- ระบบการแสดงภาพเคลื่อนไหวแบบ x Hertz (เช่น 100 Hz, 120 Hz หรือ 200 Hz เป็นต้น) เพื่อช่วยให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่ อง และเป็นธรรมชาติมากขึ้น
- การใช้ LED Backlight กับจอ LCD เพื่อปรับปรุงอัตราส่วนคอนทราสท์ และเพิ่มความสมจริงของสีให้มากขึ้น
- ความสามารถในการแสดงภาพซ้อนภาพ (Picture in Picture)
- ความสามารถในการแสดงภาพนิ่ง/วีดีโอคลิปจากพอร์ท USB
- ความสามารถในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียจาก Media Server (DLNA) ผ่านระบบเครือข่าย และเล่น streaming content (เช่นวีดีโอคลิปจากเว็บ Youtube) จากอินเทอร์เน็ต
- ความสามารถในการแสดง active content และ Widget จากอินเทอร์เน็ต

LCD TV จาก LG แสดงผลภาพนิ่งจากพอร์ท USB


จอ Plasma ขนาด 60" ของ Vizio แสดงภาพแบบ Picture in Picture

เหตุผลที่ 6 : ดีไซน์

สิ่งแรกที่เตะตาคุณเมื่อเห็น HDTV ครั้งแรก ก็คงหนีไม่พ้นหุ่นที่ผอมเพรียวของมัน และคุณสมบัตินี้ก็กลายเป็นจุดขายของ HDTV มาโดยตลอด และมันทำให้ SDTV ตัวเก่าของคุณดูใหญ่เทอะทะขึ้นมาทันที

ขนาดที่บางลงหมายถึงคุณมีอิสระในการจัดวาง HDTV ในห้องของคุณมากยิ่งขึ้น และด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย ทำให้มันกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านได้อีกชิ้นหน ึ่งเลยทีเดียว
กรอบของ Sony Bravia มีสีให้เลือกหลากหลายตามรสนิยมของคุณ
HDTV มีน้ำหนักเบา และมีความบางพอที่จะติดผนังได้สบายๆ ด้วยอุปกรณ์เสริมสำหรับติดจอกับผนัง

และถ้าคุณคิดว่า HDTV ในปัจจุบันมีความ "บาง" มากอยู่แล้ว คุณจะต้องแปลกใจเมื่อพบว่า trend ใหม่ๆ ของจอ LCD นั้นกำลังจะบางลงเรื่อยๆ ในอนาคต จอ HDTV ราคาถูกที่มี Panel บางกว่า 1 เซนติเมตร คงไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป

Sony Bravia ZX1 หนาเพียง 9.9 มิลลิเมตร สามารถแขวนไว้กับผนังเหมือนกับเป็นกรอบรูปได้สบายๆ

เหตุผลข้อสุดท้าย ด้วยการแข่งขันกันอย่างดุเดือดของผู้ผลิต HDTV ทำให้จอ HDTV มีราคาถูกลงจนกระทั่งคนส่วนใหญ่สามารถเป็นเจ้าของได้ อย่างไม่ยากเย็นนัก และเทคโนโลยีการผลิต HDTV ก็มาถึงจุดที่มีวุฒิภาวะสูงพอ ทำให้มันไม่ใช่เทคโนโลยีแปลกใหม่ ซึ่งจำกัดผู้บริโภคอยู่แต่ในวง early adopter อีกต่อไป

ยุคทองของ HDTV เริ่มต้นแล้วล่ะครับ

ที่มา: junjaowka.com

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon