Sunday, July 5, 2009

ท่าเต้นโขน ยักษ์, ลิง ได้จากท่ากบขอฝน 2,500 ปีมาแล้ว

ท่าเต้นโขน ยักษ์, ลิง ได้จากท่ากบขอฝน 2,500 ปีมาแล้ว

ถีบเหลี่ยม เป็นศัพท์โขน ใช้เรียกการฝึกหัดเบื้องต้นเพื่อดัดส่วนขาให้อยู่ในท ่า ตั้งเหลี่ยม ที่ต้องการ คนที่หัดเป็นยักษ์และลิงต้องย่อให้ได้เหลี่ยมตรง หมายถึงยืนหลังตรง ย่อขา แบะเข่าทั้งสองข้างให้เป็นเส้นตรงออกไป เข่าซ้ายแบะไปทางซ้าย เข่าขวาแบะออกไปทางขวา จนส่วนโค้งของเข่าเป็นมุมฉาก

ท่าโขนตั้งเหลี่ยมตรงหรือตั้งเหลี่ยมอัดหน้าตรง ไม่มีในท่าฟ้อนรำต่างๆ 93 ท่า ที่จิทัมพรัมในอินเดีย (ดูลายเส้นในหนังสือ ละครฟ้อนรำ พระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2546)
แต่ท่าโขนเหล่านี้มีตรงกับ ท่ากบ (ขอฝน) ในภาพเขียนสีทั้งที่พบในมณฑลกวางสีกับที่พบในภาคอีสา นของไทย อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ผมเขียนเล่าไว้ในหนังสือ คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2537) ว่าภาพเขียนสีบนผาลายในมณฑลกวางสีเป็นรูปคนจำนวนนับพ ัน ทำท่าเดียวกันคือยืนย่อเข่า ถ่างแข้งถ่างขาสองข้าง เหมือนท่ายักษ์ ท่าลิงในโรงโขนกรมศิลปากร

ท่ากบ หมายถึงคนทำท่าเป็นกบที่ยกย่องเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้มีน้ำฝนไว้ทำไร่ไถนา เกิดความอุดมสมบูรณ์ ประเพณีอย่างนี้มีทั่วไปทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์

ภาพสลักบนปราสาทหินในกัมพูชาและในอีสาน มีกองทหารนุ่งโจงกระเบนทำท่าเดินทัพ (หรือสวนสนาม) ตัดไม้ข่มนามก่อนออกรบในสมรภูมิ ล้วนตั้งเหลี่ยมอัดหน้าตรงไปในทิศทางเดียวกันเหมือนท ่ากบ แสดงว่าเป็นแบบแผนพื้นเมืองอุษาคเนย์ที่ได้จากท่ากบ (ขอฝน) อันเป็นท่าเต้นศักดิ์สิทธิ์

แบบแผนภาพสลักจากท่ากบนี่เอง เป็นต้นแบบให้ท่ายักษ์ท่าลิงของโขนสืบมาจนถึงทุก วันนี้

ถ้าดูดีๆ จะเห็นว่าท่าเซิ้งบั้งไฟกับท่ารำมวยโบราณของอีสานก็ม ีต้นเค้ามาจากท่ากบเดียวกันนี่แหละ

สุนทรภู่ เป็นคนบอกบทละคร กับเป็นคนปี่พาทย์ รู้เพลงการและหน้าพาทย์ต่างๆ ตรวจสอบรายละเอียดใน



(ซ้าย) ถีบเหลี่ยมกับเต้นเสา เป็นวิธีฝึกหัดโขนเบื้องต้นเพื่อให้ตั้งเหลี่ยมอัดหน ้าตรงเหมือนท่ากบ (ขอฝน) เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว (ลายเส้นจากหนังสือ โขน ของ ธนิต อยู่โพธิ์ คุรุสภา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2508 หน้า 167)



(ขวา-3 แถวบน) รูปคนท่าต่างๆ จากภาพเขียนยุคดึกดำบรรพ์ บนหน้าผาหลายแห่งที่พบในเมืองกวางสี (ภาพจากหนังสือ คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2537 หน้า 66) มีลักษณะอย่างเดียวกับท่ากบ เป็นต้นแบบให้ท่าโขน


(ขวา-2 แถวล่าง) รูปคนท่าต่างๆ เป็นต้นแบบท่าโขน จากภาพเขียนยุคดึกดำบรรพ์ที่พบในภาคอีสานของประเทศไท ย เช่น พบที่อุบลราชธานี อุดรธานี เลย ฯลฯ (ภาพคัดลอกจากหนังสือ "ศิลปถ้ำในประเทศไทย" โดย พิสิฐ เจริญวงศ์ กรมศิลปากร พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2531)


............................................................

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon