Thursday, July 2, 2009

บันได 6 ขั้น บริหารเงินชีวิตคู่ (1)






นอก จากเรื่องการปรับตัวของคนสองคนที่ใช้ชีวิตร่วมกัน แล้ว การวางแผนเรื่องเงินๆ ทองๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งเรื่องรายได้ของแต่ละคน ค่าใช้จ่ายในบ้าน ภาระหนี้สิน รวมถึงการวางแผนอนาคตร่วมกัน โดยเฉพาะคู่ที่กำลังคิดจะมีลูก หรือบางคู่ที่มีลูกน้อยอยู่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจจัดการ การเงินอย่างจริงจัง เพราะหากไม่ได้วางแผนการเงินร่วมกันไว้ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง จนกระทบต่อความสัมพันธ์ชีวิตคู่ได้

คุยให้เคลียร์
สำหรับคู่ที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ ควรพูดคุย อย่างเปิดเผยต่อกัน ในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง หรือหนี้สินที่แต่ละคนมีติดตัวมาหรือมีอยู่ในปัจจุบั น เพราะคนเรา ต่อให้รักกันเพียงใด หากไม่คุยให้ชัดเจนในเรื่องเงินๆ ทองๆ แต่ปล่อยให้คลุมเครือ เช่น ไม่รู้ว่าสามีหรือภรรยาของตัวเอง มีเงินเดือน หรือรายได้ประมาณเท่าใด ใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง มีเงินออม หรือหนี้สินติดตัวมาแต่ เก่าก่อนหรือไม่ มีภาระทางบ้านที่ต้องดูแลส่งเสียบ้าง หรือเปล่า เหล่านี้ หากปล่อยให้ค้างคาใจกัน วันใด วันหนึ่งอาจกลายเป็นชนวนเหตุสร้างความระหองระแหง บั่นทอนชีวิตคู่และความสุขในครอบครัวได้

ออกแบบการเงิน
หลังจากพูดคุยเปิดใจเรื่องเงินๆ ทองๆ ของแต่ละคนแล้ว จากนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคู่ว่าจะออกแบบเพื่ อบริหารเงินในกระเป๋าร่วมกันอย่างไร บางคู่อาจนำรายได้มารวมกันเป็นกองกลาง บางคู่อาจแบ่งกันรับผิดชอบแยกส่วน หรือบางคู่อาจใช้วิธีผลัดกันรับผิดชอบเพื่อให้ต่างคน ได้รู้ค่าใช้จ่ายจริง ทั้งนี้ การตัดสินใจจัดการกับรายได้ และค่าใช้จ่ายของแต่ละบ้าน ควรเน้นพูดคุยตกลงร่วมกันว่าจะจัดสรรรายจ่ายใดเป็นจำ นวนเท่าไหร่ กันไว้เป็นเงินออมมากน้อยเพียงใด และต้องไม่ลืมกันเงินสำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉินด้วย นอกจากนี้ แต่ละคู่ ควรมีเงินสำรองรายจ่ายส่วนบุคคลไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อ สร้างอิสระในการใช้จ่ายได้บ้างตามแต่โอกาสที่เหมาะสม โดยไม่รู้สึกว่าต้องถูกบังคับให้ใช้จ่ายตามรายการ ที่กำหนดไว้เท่านั้น


จดกันจน
วางแผนตกลงกันแล้วว่าจะใช้จ่ายเงินในบ้าน กันอย่างไร ก็ควรจดบันทึกรายได้ และการใช้จ่ายควบคู่ไปด้วย เริ่มตั้งแต่ส่วนที่เป็นรายได้ ทั้งเงินเดือน หรือ รายได้เสริมต่างๆ ตามด้วยส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า รวมถึงด้วยค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่างๆ เป็นต้น และที่สุดแล้ว ไม่ว่าหน้าตาของบัญชีรายรับรายจ่ายจะออกมาอย่างไร ประโยชน์ของการจดบันทึกนั้นไม่ใช่เพียงเพื่อตรวจสอบพ ฤติกรรมการใช้จ่ายของแต่ละคนเท่านั้น แต่การจดบันทึกทำให้ทราบสถานะทางการเงินของครอบครัวไ ด้เป็นอย่างดี รู้ว่ามีรายได้ และภาระค่าใช้จ่ายเท่าไร เมื่อลองทบทวนดูรายการใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วอาจพูดคุยกันว่าค่าใช้จ่ายส่วนใดที่ฟ ุ่มเฟือยเกินไป สามารถลดลงได้บ้างหรือไม่ เหล่านี้ จะช่วยให้การบริหารงบประมาณครอบครัวทำได้ง่ายและมีปร ะสิทธิภาพมากขึ้น

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon