Saturday, July 11, 2009

แพทย์แผนจีน





การแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine: TCM) เป็นวิชาการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคโดยการใช้ทฤษฎีตา มหลักการทางธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อมห ลายๆ อย่างมาประกอบการวินิจฉัย ทั้งนี้ จากบันทึกในคัมภีร์ "เน่ยจิง" ระบุว่า การแพทย์จีนมีมากว่า 5,000 ปี เป็นสมบัติล้ำค่าที่ควรศึกษาค้นคว้าและยกระดับให้สูง ขึ้น จึงนับตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาเมื่อ ค.ศ.1949 รัฐบาลจีนได้รวบรวมทฤษฎีสาขาต่างๆ อาทิ การจับชีพจร การใช้ยาสมุนไพร การปักเข็ม การกดจุด เผยแพร่สู่ประชาชน และได้จัดพิมพ์เป็นตำราให้แพทย์เท้าเปล่า (แพทย์ชนบท) นำไปใช้รักษาชาวจีนทั่วประเทศ และให้นำไปใช้รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลร่วมกับการแพทย ์แผนปัจจุบัน

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคของการแพทย์แผนจีนอาศัยหลักทฤ ษฎีสำคัญ 4 ประการประกอบกัน โดยแพทย์จะรับรู้สภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วยอย่างรอบด้านด้วยวิถีท างการมองดู (ว่าง) การฟัง-สูดดม (เหวิน) การถาม (เวิ่น) และสัมผัสคือการจับแมะ หรือจับชีพจร (เชี่ย) ร่วมกับการพูดคุยกับผู้ป่วยและผู้ที่รู้อาการของผู้ป ่วย

วิธีการวินิจฉัย 4 อย่างดังกล่าว มีเอกลักษณ์และประโยชน์พิเศษในตัวเอง แทนที่กันไม่ได้ และจะต้องใช้ร่วมกันในการตรวจและรักษาโรค จึงจะวินิจฉัยโรคได้อย่างมีระบบและถูกต้องแม่นยำ ดังนี้

1.การมองดู (ว่าง)
เป็นวิธีการตรวจโรคตามทฤษฎี ที่ว่าอวัยวะและเส้นลมปรา ณภายนอกร่างกายมนุษย์ กับอวัยวะส่วนต่างๆ ภายในร่างกาย มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากสมรรถนะของอวัยวะในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะแสดงออกมาที่การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ หน้าตา รูปร่างและท่าทาง เป็นต้น ดังนั้น การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและอวัยวะที่ใบหน้ าจะสามารถวินิจฉัยการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายในได้

2.การฟัง-สูดดม (เหวิน)
เป็นการวินิจฉัยโรคโดยใช้ ประสาทการฟังและประสาทการสู ดดม อาศัยการฟังเสียงของผู้ป่วยและสูดดมกลิ่นจากร่างกายผ ู้ป่วย โดยการฟังเสียงเป็นการตรวจและวินิจฉัยการเปลี่ยนแปลง ของอวัยวะภายในร่างกายตามการเปลี่ยนแปลงของเสียง หมายรวมทั้งเสียงพูด เสียงหายใจ เสียงไอ เสียงสะอึก เสียงเรอ เป็นต้น ส่วนการสูดดมกลิ่นแบ่งเป็น 2 อย่าง ได้แก่ กลิ่นจากผู้ป่วยและกลิ่นในห้องผู้ป่วย กลิ่นจากตัวผู้ป่วยที่สำคัญคือสารพิษที่เข้าสู่ร่างก ายจนทำให้อวัยวะต่างๆ เลือดลม และน้ำเมือกเกิดกลิ่นไม่ดี ซึ่งจะต้องขับออกจากร่างกายและกลิ่นที่มาจากสิ่งขับถ ่าย ส่วนกลิ่นในห้องผู้ป่วยคือกลิ่นที่ขับออกจากตัวผู้ป่ วยและสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย

3.การถาม (เวิ่น)
แพทย์ต้องสอบถามสภาวะการเกิด โรค การคลี่คลาย สภาพปัจจุบัน และสภาพการรักษาโรคของผู้ป่วย ด้วยการพูดคุยกับตัวผู้ป่วยหรือผู้ที่รู้สภาพของผู้ป ่วย การถามก็เพื่อพบสภาวะโรคที่จะช่วยวินิจฉัยโรคได้ หรือเสนอเบาะแสในการตรวจโรคขั้นต่อไปสำหรับโรคชนิดที ่มีอาการไม่เด่นชัดและเข้าใจสภาวะทั้งหมดเกี่ยวกับโร คอย่างรอบด้าน รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อม การทำงาน อาหารการกิน สภาพครอบครัว เป็นต้น

4.การแมะ
หรือการจับชีพจรและการคลำ (เชี่ย) แพทย์ต้องใช้มือคลำ สัมผัสและบีบกดตัวผู้ป่วย ประกอบด้วยการจับชีพจรและการคลำสองอย่าง การจับชีพจรคือการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชีพจรเพื่อ เข้าใจสภาวะโรค ส่วนการคลำส่วนต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วย เพื่อเข้าใจความไม่เป็นปกติในส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อวิ นิจฉัยความหนักเบาของอาการ

เมื่อตรวจวินิจฉัยจนทราบสาเหตุแล้ว การรักษาจะใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ว่าจะรักษาด้วยยาสมุ นไพร การปักเข็ม การกดจุด (นวด) หรือด้วยวิธีอื่นๆ ขึ้นอยู่กับชนิดและอาการของโรคเป็นสำคัญ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญในแต่ละด้านของแพทย์ ผู้นั้นด้วย

............................................................

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon