Wednesday, July 8, 2009

สะบายดี ณ เชียงคาน







คิดถึง ณ เชียงคาน (กรุงเทพธุรกิจ)

ปายแห่งลุ่มน้ำโขง...คู่แฝดหลวงพระบาง...น้องสาววังเ วียง ฯลฯ สารพัดคำเปรียบที่ "คนอื่น" ใช้นิยามถึง "เชียงคาน" ในขณะที่ "เจ้าของบ้าน" พยายามตะโกนร้องบอกกับทุกคนว่า "เชียงคาน" คือ "เชียงคาน" ไม่ได้เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตของใคร เพราะฉะนั้น กรุณาอย่าคาดหวัง!!

ไม่ ปฏิเสธว่าฉันเองก็แอบจินตนาการถึงเมืองเล็กๆ แห่งนี้อยู่เหมือนกัน แต่ "จินตนาการ" ไม่ได้แปลว่า "คาดหวัง" ผลลัพธ์ประเภทที่ว่าเจ็บปวด เสียใจ จึงไม่อาจใช้ได้กับภาพที่วาดไว้ในความคิด แล้วอย่างนี้ความจริงที่เจอจะส่งผลอย่างไรกับภาพในจิ นตนาการ บอกได้คำเดียวเลยว่า มันช่วย "เติมเต็ม" ให้ภาพนั้นดูสมบูรณ์มากขึ้น

สะบายดี เชียงคาน

ถ้า แคสเปอร์ เดวิด ฟรีดดริก (Caspar David Friedrich) ไม่ด่วนจากโลกนี้ไปก่อน ฉันคงทึกทักเอาว่า ภาพตรงหน้าเป็นผลงานเสมือนจริง ที่หลุดมาจากการตวัดพู่กันของศิลปินชาวเยอรมันยุคโรแ มนติกคนนี้แน่ๆ ฟรีดดริก เป็นจิตรกรที่ชอบวาดภาพธรรมชาติ และผลงานที่ทำให้คนทั่วโลกรู้จักดี นั่นก็คือ Wanderer Above the Sea of Fog หรือ นักเดินทางผู้เฝ้ามองทะเลหมอก

ฉันไม่ใช่นักเดินทางในผลงานชิ้นเอก แต่กำลังยืนดูทะเลหมอกจากไอฝนที่กำลังห่มคลุมเส้นเลื อดสายใหญ่ที่ใครๆ ต่างเรียกมันว่า แม่น้ำโขง

"เชียงคานสวยทุกฤดู" เสียงของพี่ชายชาวเชียงคาน ทำให้ฉันต้องก้มหัวให้กับคำกล่าวอ้างนั้นจริงๆ เพราะแม้จะต้องเสียเหงื่อไปกับความรุ่มร้อนในตอนบ่าย สายฝนแห่งความฉ่ำเย็นที่เทกระหน่ำลงมาในยามค่ำ กลับทำให้ภาพของเชียงคานเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ







เชียงคาน เป็นอำเภอเล็กๆ อำเภอหนึ่งของจังหวัดเลย ที่ตั้งอยู่อย่างสงบงามริมแม่น้ำโขง จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานทำให้เข้าใจว่า "ราก" สำคัญต่อการมีอยู่ของชาวเชียงคานอย่างไร ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นบ้านเชียงคาน ภาษาเชียงคาน อาหารเชียงคาน การละเล่นเชียงคาน หรืออะไรก็ตามที่เป็นเชียงคาน สะท้อนให้เห็นถึงความเคารพที่คนไทเชียงคานยุคปัจจุบั นพึงมีต่อบรรพบุรุษ เชียงคานได้ชัดเจน นั่นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากชาวเชียงคานบางกลุ่มจะลุกขึ้นมาต่อต้านกระแสธารแห ่งการท่องเที่ยวอันไร้ ขีดจำกัด ที่ไหลบ่าเข้ามาอย่างรวดเร็วราวกับน้ำป่าในช่วงปีที่ ผ่านมา

" ไม่ได้แปลว่าการท่องเที่ยวไม่ดี คนเฒ่าคนแก่ดีใจที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่ไม่อยากให้มาเปลี่ยนเชียงคาน" ดวง-ธนภูมิ อโศกตระกูล ลูกหลานชาวเชียงคาน บอก

ดวง เป็นหนึ่งในสมาชิกชาวเชียงคานรุ่นใหม่ที่พยายามผลักด ันให้เกิดการตั้ง "กลุ่มคนเชียงคานรักเมือง" ขึ้น เพื่อดูแลรักษาสภาพเมืองเชียงคานให้คงอยู่อย่างเดิมต ลอดไป ซึ่งนอกจากจะดูแลแล้วยังเฝ้าระวังไม่ให้ "คนนอก" มาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวเชียงคานที่แท้จริงด้วย

ระหว่างสนทนา ดวง พาฉันเดินสำรวจเมืองเชียงคานไปพร้อมกัน ผังเมืองเชียงคานอาจจะไม่แตกต่างจากเมืองริมน้ำอื่นๆ มากนัก คือมีถนนเส้นเลียบชายโขง ที่ชาวเชียงคานเรียก ว่า ถนนหลุ่ม (ล่าง) เป็นเส้นที่มีเรือนแถวโบราณอยู่มากที่สุด ซึ่งจุดนี้เองที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศให้แวะเวีย นมาเยี่ยมเยือนเชียงคาน ส่วนถนนคมนาคมสายหลัก หรือถนนเทิง (บน) นั้น เป็นชุมชนเมืองที่ความเจริญเข้าถึง บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม ่ สีสันฉูดฉาด ไม่ต่างกับเมืองอื่นๆ ของไทย

สังเกต ว่าบ้านแต่ละหลังค่อนข้างชำรุดทรุดโทรมมาก อาจจะด้วยกาลเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนานนั่นเอง เจ้าถิ่นบอกว่าคนเชียงคานค่อนข้างมีฐานะ เพราะฉะนั้นจะไม่ยอมขายบ้านให้กับคนต่างถิ่น อย่างมากคือให้เช่า และเก็บไว้เป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลาน

แม่กุญแจขนาดใหญ่ที่ปิดตายบ้านหลายหลัง ทำให้ดูคล้ายกับไม่มีคนอยู่ แต่จริงๆ แล้วบ้านเก่าทุกหลังมีเจ้าของ ฉันเห็นร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกหลายร้านแทรกตัวอยู ่กับบ้านโบราณในย่านนี้ แต่ละร้านตกแต่งให้มีเสน่ห์ต่างกันไป บางร้านคงรูปแบบเดิมไว้อย่างเงียบงาม ในขณะที่บางร้านปรุงโฉมบ้านเก่าจนมองเค้าเดิมแทบไม่อ อก ดีหรือไม่ อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคน สำหรับฉันประมาณนี้กำลังดี







วันวานและพรุ่งนี้

จากเอกสารที่ วัดศรีคุณเมือง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอเชียงคาน เล่าถึงการสร้างเมืองเชียงคานที่ปรากฎในพงศาวดารล้าน ช้าง สรุปความได้ว่า "ขุนคาน" เป็นโอรสของ "ขุนครัว" แห่งอาณาจักรล้านช้าง โดยขุนคานเป็นผู้สร้างบ้านแปงเมืองเชียงคานขึ้นมา ในตอนแรกนั้นเมืองเชียงคานตั้ง อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ฝั่งลาว) ต่อมาปี 2436 (รศ.112) ฝรั่งเศสได้เข้ามาทำสงครามและยึดครองดินแดนฝั่งซ้ายแ ม่น้ำโขงทั้งหมด ตามสนธิสัญญา ชาวเมืองเชียงคานทั้งหมดจึงได้อพยพหนีภัยมาสร้างเมือ งเชียงคานใหม่ หรือเมืองปากเหือง ที่บริเวณปากแม่น้ำเหือง จนเมื่อฝรั่งเศสรุกหนัก จากบ้านปากเหือง แขวงไซยะบุรี ชาวบ้านจึงพากันหนีอีกรอบมาตั้งบ้านอยู่ที่บ้านท่านา จันทร์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเชียงคานปัจจุบันราว 2 กิโลเมตร

ดูเหมือนว่า ชาวเชียงคานจะมีชีวิตอยู่กับการหนีมาตลอด และทุกครั้งที่หนีมาจากการรุกรานของ "คนอื่น"
"ตอนนี้เริ่มมีนายทุนเข้ามาติดต่อ แต่ชาวบ้านยังรวมพลังที่จะไม่ขาย" ดวง บอกเสียงเรียบ

"ยายไม่ขายหรอก คนเชียงคานเขาก็ไม่มีใครขาย" ยายเสงี่ยม ตอบคำถามคนต่างถิ่นอย่างฉัน แล้วพอถามว่า ทำไม ยายบอกว่า "ไม่ได้เดือดร้อน ถ้าขายแล้วจะไปอยู่ไหน" ฉันสะอึกกับคำตอบ ภาพชาวเชียงคานที่เคยวิ่งหนีฝรั่งบ้าอำนาจวนกลับเข้า มาในความคิด ถ้าวันนี้คนเชียงคานตัดสินใจขายบ้าน ชะตากรรมก็คงไม่ต่างจากบรรพบุรุษที่เร่ร่อนหาที่อยู่ เพียงเพื่อให้พ้นเงื้อม มือของต่างชาติ

อาหาร มือเช้าครบรสไปด้วยสาระและความบันเทิง มันไม่ได้หรูหราเหมือนนั่งกินอยู่ในภัตตาคาร หรือล้อมวงคุยกันในบ้านหลังใหญ่ แต่มื้อเช้าแสนพิเศษของฉันอยู่บนศาลากลางวัดศรีคุณเม ือง ใช่แล้ว...ฉันกำลังกินข้าวก้นบาตรพระ

"กินข้าวในวัดนี่แหละดี มีอาหารพื้นบ้านให้กินเยอะแยะ มาเชียงคานแล้วต้องกินอาหารเชียงคานนะ" บุรุษหนุ่มสายเลือดเชียงคาน บอก

จะปฏิเสธก็กลัวเสียน้ำใจ มื้อนั้นฉันจึงได้นั่งอร่อยไปกับเมนูอาหารเฉพาะถิ่นม ากมาย ไม่ว่าจะเป็น หยู่ปลาทู (น้ำพริกปลาทูแบบแห้ง), เอาะหลาม หรือซั้ว หรือต้มซั้ว (คล้ายๆ แกงเลียง แต่ไม่ใส่พริกไทย), บ่นปลา(คล้ายๆ แจ่วปลา), หมกปลา, อั่วะเนื้อ, แจ่วหมากเผ็ดใหญ่ (แจ่วพริกเม็ดใหญ่) ฯลฯ ทั้งหมดกินกับข้าวเหนียว และอาหารมื้อนั้นก็ไขข้อสงสัยของฉันที่มีมาตั้งแต่เช ้าว่า ทำไมคนที่นี่จึงใส่บาตรเฉพาะข้าวเหนียว ดูแล้วไม่ต่างจากใส่บาตรที่หลวงพระบางเลย

" คนเชียงคานจะใส่ข้าวเหนียวอย่างเดียว กับข้าวกับขนมหวานเอามาถวายที่วัด ถวายเสร็จบางวันก็ฟังเทศน์ฟังธรรมต่อไปเลย" คุณยายท่านหนึ่ง บอก

หลังอิ่มเอมกับอาหารมื้อพิเศษ ฉันจึงมีโอกาสได้ชมวัดเก่าแก่แห่งนี้แบบเต็มตา...

วัดศรีคุณเมือง อยู่บริเวณถนนศรีเชียงคาน ซอย 7 สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2485 วัดนี้เป็นแหล่งรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้าง ไว้มากมาย ที่น่าสนใจคือ พระพุทธรูปไม้จำหลักลงรักปิดทอง ปางประทานอภัยแบบล้านช้าง ฉันมองขึ้นไปที่ผนังด้านหน้าอุโบสถ เห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังปรากฎอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดก ชุดพระเจ้าสิบชาติ แต่ที่น่าสนใจคือ สังเกตว่ามีรูปรถตุ๊กตุ๊กอยู่ที่ด้านล่างของภาพด้วย แสดงว่าภาพเหล่านี้เป็นภาพวาดสมัยใหม่ หรือไม่ก็อาจจะมีการแต่งเติมลงไป

จาก ซอยเย็น ดวง พาเราย้อนกลับไปที่ ซอย 0 แปลกแต่จริงที่เชียงคานมีซอย 0 ด้วย เจ้าถิ่นเองก็ไม่ทราบที่มา แต่เห็นว่าแปลก จึงพามาชม ใกล้ๆ ซอย 0 เป็นร้านขายข้าวหลามยาว อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของเชียงคาน ดวง บอกว่าในอดีตเมื่อชาวเชียงคานจะไปเยี่ยมญาติต่างถิ่น ของฝากที่ติดไม้ติดมือไปนั่นคือ ข้าวหลามยาว และโดนัททำมือ

แต่ในบรรดาของกินที่ได้ลองลิ้มชิมรส ฉันค่อนข้างชอบ "ข้าวปุ้นฮ้อน" ที่สุด เพราะแปลกและอร่อย สามารถเลือกเส้นได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น แมงด๊องแด๊ง (เส้นเหมือนเกี้ยมอี๋), หัวไก่โอก (เส้นใหญ่ปั้นกลมเหมือนลูกชิ้น) หรือเส้นธรรมดา (คล้านซ่าหริ่ม) กินกับน้ำจิ้มคลุกพริกสด มะนาว น้ำปลา น้ำตาล แค่นี้ก็แซบได้ถึงใจ

"ถ้ามาเชียงคานแล้วไม่ได้กินข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ถือว่ามาไม่ถึงเชียงคาน" บางคนเคยโฆษณาไว้อย่างนั้น แต่ในฐานะนักเดินทางผู้นิยมมังสวิรัติ (มังเขี่ย-เขี่ยหมู เขี่ยไก่) ขอปรับเนื้อหานิดหน่อยว่า "มาเชียงคานแล้วไม่ได้กินข้าวปุ้นฮ้อน ถือว่ามาไม่ถึงเชียงคาน" แค่นี้ก็ทำให้ฉันมาถึงเชียงคานได้อย่างสมบูรณ์(ว่าไป นั่น)





รักเชียงคานต้องขี่ (จักรยาน)

ของฝากเชียงคานนอกจากอาหารแล้วยังมีผ้าห่มนวม ผ้าห่มที่ชาวบ้านยืนยันนักหนาว่า อุ่น นุ่ม กว่าที่ไหนๆ

"เมื่อก่อนเชียงคานค้าขายฝ้าย ปลูกฝ้ายขาย แต่พอมีนายทุนมาซื้อที่ดินชายโขงที่เคยเป็นไร่ฝ้าย ตอนหลังเราจึงต้องซื้อฝ้ายจากที่อื่น" ชาวเชียงคาน สะท้อน

แม้วัตถุดิบจะต้องนำเข้า แต่ฝีมือแรงงานยังเป็นของชาวเชียงคานล้วนๆ อย่างที่ร้านนิยมไทย ก็เป็นหนึ่งในร้านจำหน่ายผ้าห่มนวมคลาสสิคที่สามารถเ ข้าไปชมกรรมวิธีการทำ ได้ และเมื่อฉันลองเข้าไปนั่งดูใกล้ๆ ก็พบว่า การถักทอผ้านวมแต่ละผืน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

"อยากเห็นโรงหนังเก่ามั้ย" พี่ชายคนเดิมชวน ไม่ลังเลเราหันหัวรถถีบไปยังจุดหมายปลายทางใหม่ทันที
สุวรรณ รามา เป็นโรงหนัง 1 ใน 2 แห่งที่มีในเชียงคาน ดวงบอกว่า สมัยนั้นเชียงคานยัง ไม่มีแหล่งบันเทิง โทรทัศน์ก็มีน้อย ผู้คนจึงนิยมซื้อตั๋วเข้ามาดูหนัง บางเรื่อง 3 บาท บางเรื่อง 4 บาท ซึ่งบางเรื่องก็ได้รับความนิยมมากขนาดฉายแบบรอบชนรอบ เลยทีเดียว

" ตอนนี้เป็นร้านกาแฟโบราณ แต่ก็เอาข้าวของเครื่องใช้สมัยเป็นโรงหนังมาจัดแสดง มีตั๋วเก่าด้วย มีเครื่องฉาย ตอนนี้โรงหนังปิดไปแล้ว เปลี่ยนมาเป็นสนามแบดมินตัน เพราะความบันเทิงต่างๆ เข้ามา"

ฉันเดินชมอดีตของสุวรรณรามาอย่างเพลิดเพลิน จนลืมเวลาว่าจะต้องขี่จักรยานปีนเขาขึ้นไปนมัสการพระ ที่ "วัดท่าแขก" ซึ่งวัดท่าแขกเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโข ง ห่างจากตัวเมืองเชียงคานไป ประมาณ 2 กิโลเมตร สังเกตง่ายๆ คืออยู่ก่อนถึงหมู่บ้านน้อยและแก่งคุดคู้ วัดนี้เป็นวัดธรรมยุติ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูป 3 องค์ ที่สกัดจากหินทรายทั้งก้อน เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ มีอายุประมาณ 300 กว่าปี เห็นแล้วอดทึ่งในฝีมือของช่างโบราณไม่ได้

ลงจากเขาเรามุ่งหน้าฝ่าลมแรงไปที่ "แก่งคุดคู้" ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดใหญ่กลางลำน้ำโขง มองไปเห็นภูเขาสูงใหญ่วางทับซ้อนกันดูสวยงาม มีสายหมอกลอยระเรี่ยอยู่ลิบๆ ฉันมองลงไปที่แก่งคุดคู้ กระแสน้ำบริเวณนั้นค่อนข้างเชี่ยว กอปรกับฝนที่เริ่มลงเม็ด ทำให้เรามีเวลาเก็บความรู้สึกอยู่ได้ไม่นาน แต่ก็พอทันได้สังเกตว่า มีรถยนต์หลายคันจอดอยู่กลางหาดริมโขง ซึ่งไม่น่าจะเป็นภาพที่ชวนพิสมัย เพราะทำให้ทัศนียภาพสูญเสียความงามไปอย่างสิ้นเชิง

ฝน ซาฟ้าสว่างเราปั่นจักรยานกลับมาที่ถนนเชียงคานล่างอี กครั้ง ความเมื่อยล้าทำให้ต้องหาที่บีบนวดกันเล็กน้อย ไม่ผิดหวัง "คิดถึง ณ เชียงคาน" เป็นสวรรค์ที่ฉันค้นพบ นอกจากจะเป็นร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกสไตล์คนเมืองเ ชียงคานแล้ว ด้านในยังมีบริการนวดแบบที่เรียกว่า "ยองเส้นให้แหลว" อีกด้วย

"ก็เหมือนนวดเส้นให้เหลว คลายกล้ามเนื้อ ป้าเน้นนวดเท้า เพราะเท้าคือศูนย์รวมของประสาททุกส่วน ป้านวดที่นี่แล้วก็มีสอนด้วย ในเชียงคานถามได้เลยป้าก้อยมือหนึ่งเรื่องนวดอยู่แล้ ว" ป้าก้อย - อุไรรัตน์ มั่งมีศรี หมอนวดมือทอง ว่าอย่างนั้น ไม่พูดพร่ำป้าก้อยลงมือนวดอย่างขันแข็ง

จริงๆ เชียงคานยังมีเรื่องราวให้พูดได้ไม่รู้จบ เวลาเพียงแค่ 2-3 วัน คงไม่สามารถเข้าถึงคำว่า "เสน่ห์" ของเชียงคานได้ อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน เป็นปี หรือเป็นสิบปี กว่าจะถ่องแท้กับความรู้สึกนี้ เหมือนกับที่ชาวเชียงคานสะท้อนไว้

" รักเชียงคานจริง ต้องเฝ้าทะนุถนอม ดูการเติบโตอย่างช้าๆ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เติบโตอย่างแข็งแรง มีคุณภาพ รู้ทิศทาง ควบคุมตัวเองได้ ให้เชียงคานเป็นเชียงคาน อย่าไปเสริมเติมแต่งจริตให้มากเกิน มิฉะนั้น เสน่ห์เชียงคานจะจางหาย"







การเดินทาง

เชียงคานเป็น เมืองชายโขงที่กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวม าก สามารถเดินทางไปได้ทั้งทางรถยนต์และรถประจำทาง รถยนต์แนะนำให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านสระบุรี อ.ปากช่อง แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว ขับตรงไปผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ใช้เส้นทางเดิมผ่านอำเภอภูเขียว จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ ก่อนจะเปลี่ยนเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ผ่านตัวเมืองจังหวัดเลย แล้วขับตรงต่อไปเส้นเดิมราว 47 กิโลเมตร ก็จะถึงเชียงคาน

หากไปรถประจำทาง มีรถปรับอากาศให้บริการมากมาย รถ บขส. 999 โทร. 0-2936-2841-8, 0-2936-0657 ต่อ 605 รถทัวร์แอร์เมืองเลย โทร. 0-2936-0142 หรือสอบถามที่ ททท. สำนักงานเลย (เลย-หนองบัวลำภู) โทร. 0-4281-2812, 0-4281-1405


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก


............................................................

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon