Thursday, July 2, 2009

‘เกลือ’ ภัยเงียบ กับความเสี่ยงความดันโลหิตสูง

เค็มเหมือนเกลือ เกลือมีดีที่เค็ม แต่เค็มมากไปก็ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นนิสัยเค็มไม่แบ่งใคร หรือกินเค็มเกินไป

ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีการบริโภคเกลือเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีอายุระหว่าง 40-49 ปี คนกลุ่มนี้บริโภคเกลือมากขึ้นกว่าเดิมถึง 2 เท่า และเป็นกลุ่มอายุที่มักพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยพบว่าในภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มากที่สุด รองลงมาได้แก่ภาคกลาง กรุงเทพฯ ภาคอีสาน และภาคใต้ตามลำดับ

สาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนไทย ที่นิยมรับประทานอาหารรสจัดซึ่งรวมถึงรสเค็ม สังเกตได้จากเครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ ปลาร้า นอกจากนี้เกลือยังแฝงอยู่ในรูปของเกลือโซเดียมอื่นๆ ซึ่งมีอยู่ในอาหารและขนมเกือบทุกชนิด เช่นเนื้อสัตว์ อาหารจานด่วน ขนมกรุบกรอบต่างๆ ซึ่งหากร่างกายได้รับเกลือในปริมาณมาก โอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็ย่อมมากตามไปด้วย เช่นกัน

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าแนวโน้มตัวเลขผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในประเท ศไทยสูงขึ้น 71 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะมีผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งมีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะความดันโลหิตสูง และในจำนวนนี้มีผู้เข้ารับการรักษาเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งโดยส่วนใหญ่แพทย์สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ส่วนที่เหลืออีก 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค ทำให้จำเป็นต้องรักษาที่ปลายเหตุ โอกาสที่จะรักษาโรคให้หายขาดได้จึงมีค่อนข้างน้อย ซึ่งปัจจุบันแพทย์สามารถควบคุมการรักษาโรคความดันโลห ิตสูงได้ถึงเป้าหมายมี ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

รศ.นพ.พีระ บูรณะกิจเจริญ แพทย์ที่ปรึกษาภาควิชาโรคความดันโลหิตสูง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะอุปนายกสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เกลือ” เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจโต โรคไต โรคทางตา โรคหลอดเลือดแดงตีบ รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของโลก

ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูง คือการที่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังป่วยเป็นโ รคนี้ และเข้ารับการรักษาเมื่อมีอาการมากและมีผลแทรกซ้อนจา กความดันโลหิตสูง จึงทำให้การรักษายากขึ้น และสิ่งสำคัญอีกอย่างที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผลคือการ ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ละเลยที่จะรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หรือรับประทานยาเฉพาะเวลาที่มีอาการเท่านั้น และในขณะเดียวกันโรคความดันโลหิตสูง ที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่นั้นประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ไม่ทราบสาเหตุ แพทย์จึงรักษาที่ปลายเหตุ

ค่าความดันโลหิตของคุณควรเป็นเท่าไร

ตามปกติระดับความดันโลหิตควรอยู่ระหว่าง 120/80 มม.ปรอท ถ้าหากพบว่ามีค่าความดันสูงกว่านี้ แต่ไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเข้าข่ายความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสู ง และหากว่ามีค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น ต้องควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่าค่าดังกล่าว แต่หากว่ามีความดันโลหิตสูงร่วมกับเป็นเบาหวานหรือโร คไต จะต้องลดความดันให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท

หากค่าความดันโลหิตสูงกว่าที่ควรเป็น จะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม ขึ้น โดยความดันโลหิตตัวบนที่สูงกว่าความดันโลหิตเป้าหมาย ของแต่ละคนทุกๆ 20 มม.ปรอท และความดันโลหิตตัวล่างทุกๆ 10 มม.ปรอท จะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้ นถึง 2 เท่า

ดังนั้น สิ่งที่สามารถลดค่าความดันโลหิตได้ คือการรับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ โดยต้องแน่ใจว่าได้รับยาตามที่แพทย์สั่ง เพราะแพทย์ได้คำนึงถึงประโยชน์อื่นๆ ที่นอกเหนือจากการลดความดันโลหิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจต้องใช้ยาลดความดันโลหิตมากกว่า 1 ชนิด เพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งสามารถทำได้โดยเพิ่มยาอีก 1 เม็ด ที่ออกฤทธิ์แตกต่างกันหรือจ่ายยา 2 ชนิด ที่ออกฤทธิ์แตกต่างกัน แต่รวมอยู่ในเม็ดเดียวกัน



อาหารประเภทใดมีเกลือโซเดียม?

1. อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1.1 อาหารที่ใช้เกลือปรุงรส เช่น :

- ซอสรสเค็ม อาทิ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว

- ซอสหลายรส เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ซีอิ๊วหวาน

- เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู

1.2 อาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหาร เช่น :

- อาหารตากแห้ง อาทิ ปลาเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ เต้าหู้ยี้ แหนม ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ผลไม้ดอง ผักดอง รวมถึงอาหารสำเร็จรูปชนิดผง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม

- เนื้อสัตว์ปรุงรส เช่น หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง

- อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง

- อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง

2. อาหารที่มีเกลือโซเดียมปานกลาง เช่น อาหารที่ใช้สารปรุงแต่งรส อาทิ ผงชูรส สารกันบูด ผงฟู

3. อาหารที่มีเกลือโซเดียมอยู่ตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล อาทิ กุ้ง ปู หอย ปลา

วิธีพ้นภัยโรค

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้ 2 แบบคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการกินยา รวมไปถึงการงดสูบบุหรี่ พยายามไม่เครียด แต่อย่างไรก็ตามการแพทย์ได้ให้คำแนะนำในการป้องกันโร คความดันโลหิตสูง วิธีการหนึ่ง คือลดการกินเกลือ องค์การ อนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าไม่ควรรับประทานเกลือหรืออาหารที่มีเกลือแกง (Sodium Chloride) มากกว่า 6 กรัม หรือ 1 ช้อนชาต่อวัน แต่ต่อมาพบว่ายังมากเกินไป ดังนั้นจึงมีบทสรุปที่ว่า ควรรับประทานเกลือหรืออาหารที่มีเกลือแกง (Sodium Chloride) ไม่เกินครึ่งช้อนชาต่อวัน โดยแนะนำวิธีลดการรับประทานเกลือ และการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตบางลักษณะ

1.เลือกซื้อผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ที่สดใหม่ แทนการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง ผักดอง และอาหารสำเร็จรูป ล้างผักและเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารให้สะอาด เพื่อชะล้างเกลือออก

2.ไม่วางภาชนะ หรือขวดใส่เกลือรวมทั้งเครื่องปรุงต่างๆ ไว้บนโต๊ะอาหาร เช่น ซอส ซีอิ๊วขาว และน้ำปลา เพื่อเป็นการลดพฤติกรรมการเพิ่มรสเค็มลงในอาหาร

3.อ่านฉลากอาหารก่อนซื้อทุกครั้ง และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ

4.ชิมอาหารก่อนรับประทาน และฝึกการรับประทานอาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เค็มจัดหรือหวานจัดเกินไป

5.ลดการใช้เกลือและเครื่องปรุงรส หันมาใช้เครื่องเทศและสมุนไพรที่มีปริมาณโซเดียมต่ำแ ทน เช่น หัวหอม กระเทียม ขิง พริกไทย มะนาว

6.พยายามปรุงอาหารรับประทานเอง แทนการรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือการซื้ออาหารสำเร็จรูป และใส่เกลือในการปรุงรสให้น้อยที่สุด

7.การเดินเร็วๆ วันละ 30 นาที โดยหากสามารถทำได้ทุกวัน สามารถลดความดันโลหิตได้ 4-9 มม.ปรอท

8.การลดน้ำหนักลง 10 กก. สามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 20 มม.ปรอท

และเนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลกประจำปีนี้ หรือ World Hypertension Day 2009 ทั่วโลกได้ร่วมมือกันรณรงค์ให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมคว ามดันโลหิตสูงให้ถึง เป้าหมายของการรักษา โดยส่งเสริมการลดการรับประทานเกลือ ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดภาวะควา มดันโลหิตสูง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบ ริโภค โดยลดการทานเกลือหรืออาหารรสเค็มจัด รวมถึงให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา





ที่มา .. โพสต์ทูเดย์

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon