Thursday, July 2, 2009

ทึ่งใบตองปิดแผล ได้ผลกว่าผ้าก๊อซ

ทึ่งใบตองปิดแผล ได้ผลกว่าผ้าก๊อซ

ทึ่งพยาบาลเก่ง ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำใบตองมาปิดแผลแทนผ้าก๊อซ ช่วยผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บปวดจากการทำแผลเวลาต้องดึงผ้า ก๊อซออก โดยเฉพาะแผลไฟไหม้ เพราะคุณสมบัติเหมาะสม ผิวเป็นมันไม่ติดแผล มีความชุ่มชื้นช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ที่สำคัญผู้ป่วยไม่เจ็บปวด มีความพึงพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งต้นทุนก็ต่ำกว่าการใช้ผ้าก๊อซ นำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการสาธารณสุข ในชื่อ "ใบตองวิเศษพิชิตแผล แคร์ความรู้สึก"






เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มีการประชุมวิชาการสาธารณสุข ในการประชุมดังกล่าว นางอรทัย ไพรบึง พยาบาลวิชาชีพ 7 ศูนย์สุขภาพชุมชนปราสาทเยอ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ นำเสนอผลงานวิชาการ ในสาขานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เรื่อง "ใบตองวิเศษพิชิตแผล แคร์ความรู้สึก"

นางอรทัยกล่าวถึงสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวว่า ตนได้นำใบตองมาใช้พันแผลให้กับผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้ ในระดับเบื้องต้นคือระดับ 1 และระดับ 2 ทำให้เวลาล้างแผล ผู้ป่วยจะไม่ทุกข์ทรมานจากการที่ผ้าก๊อซติดกับแผลแล้ วต้องดึงออก ใบตองมีคุณสมบัติที่ดีคือผิวมัน ไม่หยาบหรือขรุขระเหมือนใบไม้ชนิดอื่น จึงไม่ติดแผล ทำให้แผลหายเร็วกว่าปกติ เพราะเมื่อไม่มีการกระชากดึงแผล เซลล์ที่กำลังเติบโตของแผลก็จะไม่ถูกทำลาย อีกทั้งใบตองมีความชุ่มชื้นที่แผลไฟไหม้ต้องการ

นางอรทัยกล่าวอีกว่า ในระดับศูนย์สุขภาพชุมชน ไม่สามารถเบิกผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันไม่ให้ผ้าก๊อซติดแผ ลได้ จึงได้นำแนวคิดการปิดแผลไหม้จากตึกศัลยกรรมการดูแลไฟ ไหม้ของร.พ.ศิริราชมาประยุกต์ใช้ อีกทั้งใบตองเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ความเสี่ยงติดเชื้อก็ไม่มี

"จากการทดลองกับผู้ป่วยทั้งสิ้น 37 คน ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์ บอกตรงกันว่าไม่ปวดแสบแผล เย็นสบาย เวลาแกะแผลไม่เจ็บ อย่างผู้ป่วยคนหนึ่งมีแผลไฟไหม้ขาทั้ง 2 ข้าง มีอาการทุกข์ทรมานมากเวลาล้างแผล เพราะแผลติดกับผ้าก๊อซ จนวันที่สาม ที่ล้างแผลเราจึงได้ใช้ใบตอง ทำให้เขาไม่ต้องเจ็บปวดอีก" นางอรทัย กล่าว

นางอรทัย กล่าวว่า สำหรับการใช้ใบตองปิดแผล เบื้องต้นจะต้องนำใบตองมาล้างทำความสะอาด จากนั้นก็ตัดให้ได้ตามขนาดของแผล ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ 7 จึงนำมาปิดแผลแล้วปิดตามด้วยผ้าก๊อซเพื่อให้ไม่ลื่นห ลุด ทั้งนี้หากใช้ผ้าก๊อซการหายของแผลจะประมาณ 5-10 วัน แต่แผลที่ใช้ใบตองจะใช้เวลาไม่เกิน 5 วันเท่านั้น อีกทั้งยังไม่ต้องใช้น้ำเกลือในการแกะแผล ซึ่งปกติใช้ประมาณ 50-100 ซีซี เมื่อรวมต้นทุนในการพยาบาลบาดแผลไฟไหม้จากต้นทุนการใ ช้ผ้าก๊อซจำนวน 911 บาท แต่หากใช้ใบตองมีต้นทุนเพียง 385 บาทเท่านั้น แต่ใบตองก็ยังมีข้อจำกัด คือเหมาะสำหรับแผลที่อยู่ในบริเวณที่ระบายเหงื่อได้ด ี เช่น แขน ขา ลำตัว แต่ไม่สามารถพันบริเวณรักแร้ ข้อมือ ข้อพับต่างๆได้

นางอรทัย กล่าวว่า หากคนในเมืองต้องการจะใช้ใบตอง ควรทำความสะอาดให้ดี หากนำมาปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ควรทาว่านหางจระเข้หนา 2-5 ม.ม. แล้วนำใบตองมาปิด ทั้งนี้ในชุมชนได้ประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรัก ษาแผนปัจจุบัน ซึ่งผู้รับบริการมีความพึงพอใจในรูปการให้บริการแนวใ หม่ ควรมีการขยายผลสำเร็จของนวัตกรรมสู่เครือข่ายบริการส ุขภาพในระดับพื้นฐานต่อไป

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon