Sunday, July 12, 2009

เที่ยวพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวง / วินิจ รังผึ้ง

โดย : วินิจ รังผึ้ง


ทุกครั้งที่ผมดื่มน้ำผลไม้ตรา “ดอยคำ” นอก จากจะได้รสชาติของความอร่อย ความรู้สึกชื่นเย็น รู้สึกได้ถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ และความรู้สึกลึกๆที่เกิดขึ้นในจิตใจก็คือ ความรู้สึกเสมือนได้มีส่วนในการช่วยเหลือเกษตรกรอีกจ ำนวนมากมาย

หากจะพูดถึงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วๆไปที่เราท่านดื่ มกินขึ้นมาสัก ชิ้น เรื่องราวความเป็นมาของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นอ าจมิได้มีเรื่องราวมาก มายไปกว่าการผลิตเพื่อผลกำไรในทางธุรกิจซึ่งเป็นวัตถ ุประสงค์สูงสุด แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ดอยคำแล้ว กลับมีเรื่องราวความเป็นมามากมายนับตั้งแต่พระมหากรุ ณาธิคุณและสายพระเนตร อันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานลงมายังเกษตรกรยากจนในพื้นที่โครงการพระ ราชดำริ เรื่องราวของการดำเนินวิถีชีวิตและการมีส่วนร่วมของป ระชาชน ชุมชน และการทุ่มเททำงานหนักแบบปิดทองหลังพระของคนทำงานอีก มากมาย เพื่อพัฒนาผืนแผ่นดิน พัฒนาชุมชนและวิถีชีวิตของประชาชนไปพร้อมๆกับการพัฒน าผลิตภัณฑ์

จากการเสด็จประพาสต้นบนดอยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว และได้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาและสภาพ พื้นที่ที่ถูกทำลายจาก การทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกพืชเสพติด พระองค์จึงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริและพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์จัดตั้งโครงการหลวงขึ้น ในปี พ.ศ.2512 เพื่อหยุดยั้งการทำลายป่าต้นน้ำ และส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาเลิกโยกย้ายถิ่นทำไร่เลื่อ นลอย เลิกปลูกฝิ่น หันมาปลูกพืชอื่นทดแทน และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยการเกษตรในที่สูง ซึ่งเมื่อทรงพระราชทานจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นมาแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลและทรงมีแนวพระราชดำริแบบบูร ณาการ ก็ทรงมีพระราชดำริให้ก่อตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) ขึ้นในปี พ.ศ.2515 ที่บ้านยาง หมู่ 12 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่าอยู่ไม่ไกลจาก สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการหลวงมากนัก

ด้วยทรงเล็งเห็นว่าเมื่อเกษตรกรสามารถปลูกพืชผลได้แล ้ว หากไม่มีตลาดที่ดี ไม่มีการแปรรูปผลผลิตที่เหลือขายจากการบริโภคผลสด ก็จะไม่สามารถสร้างมูลค่าของผลผลิต และไม่สามารถจะช่วยเหลือเกษตรกรในโครงการได้ จึงทรงมีพระราชดำริให้งานของโครงการหลวงดำเนินการในก ระบวนการต่างๆอย่างครบ วงจร การก่อตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป และก่อตั้งบริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหารจึงเริ่มต้นขึ้น

การตั้งโรงงานหลวงบนเนินเขาที่บ้านแม่งอนที่อยู่ติดช ายแดนนั้น อาจจะเป็นงานยากกว่าการตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตในพื้น ราบ แต่ก็มีผลในการสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน ให้เกิดความมั่นใจว่าผลผลิตที่พวกเขาปลูกจะสามารถขาย ได้ย่างแน่นอน อีกทั้งพวกเขายังสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทำงานในโรงงา นที่อยู่ในหมู่บ้าน ไม่ต้องให้คนรุ่นหนุ่มสาวต้องเสี่ยงชีวิตเดินทางออกไ ปหางานทำในเมืองใหญ่ ซึ่งบ้านแม่งอนและชุมชนรอบข้างนั้นมีทั้งชาวไทยภูเขา ชาวไทยเชื้อสายจีนที่อพยพมาจากยูนนาน และชาวไทยพื้นราบ อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและมีความสุข

แต่แล้วในวันที่ 8-9 ตุลาคม พ.ศ.2549 บ้านยางก็เกิดเหตุภัยพิบัติครั้งใหญ่จากน้ำท่วมและดิ นโคลนถล่มลงมาจากภูเขา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบ้านเรือนของชาวบ้านจำนวนมากถ ูกน้ำป่าพัดพังเสียหาย รวมถึงโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) แห่งนี้ก็ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำริให้ฟื้นฟูพื้นที่โรงงานหลวงแห่งนี้ขึ ้นมาใหม่และพัฒนาให้ เป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์พื้นที่ที่มีชีวิต (Living Site Museum) ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านต่างๆ ผ่านนิทรรศการ วัตถุสะสม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้เชิงนิเวศ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมประเพณี เพื่อแสดงให้เห็นถึงกระบวนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเ ทศแบบบูรณาการของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

การมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) แห่งนี้ จะเริ่มต้นจากบริเวณห้องพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดง ซึ่งอาคารของพิพิธภัณฑ์ออกแบบอย่างเรียบง่ายเหมือนโก ดังหลังคาสูงของโรงงาน ทั่วๆไป แต่ก็มีลูกเล่นที่แฝงความเท่และความมีสไตล์ของการออก แบบ เช่นบานประตูไม้สลักลวดลายสวยงามที่ให้กลิ่นอายความเ ป็นชาวไทยเชื้อสายจีนยู นนานของชาวบ้านยางได้เป็นอย่างดี เมื่อเดินเข้าไปภายในห้องจัดแสดงห้องแรก ซึ่งออกแบบตกแต่งแบบจำลองข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน ของชาวบ้านยางในอดีต ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านยางไ ด้เป็นอย่างดี เมื่อเดินลึกเข้ามาก็จะเป็นห้องจัดแสดงพระบรมฉายาลัก ษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงงานอย่างใกล้ชิดพสกนิกรของพร ะองค์ท่านในพื้นที่ธุร กันดารกลางป่าเขาแดนดอยอันเป็นภาพชุดที่หายชมได้ยากซ ึ่งได้ทรงพระราชทานมา จัดแสดง

นิทรรศการแห่งนี้ยังได้จัดแสดงภาพชุดขาว-ดำ ฝีมือช่างภาพชั้นเยี่ยมของเมืองไทยอย่างชำนิ ทิพย์มณี ซึ่งลงมาคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านยาง แล้วสะท้อนภาพวิถีชีวิตอันแสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นช าวบ้านยางด้วยภาพขาว-ดำ ที่งดงามเต็มไปด้วยพลัง สร้างความภาคภูมิใจและสร้างความมีส่วนร่วม ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาวบ้านกับพิพิธภัณฑ์ที่ม ีชีวิตแห่งนี้ได้เป็น อย่างดี ภายในห้องนิทรรศการ มีมุมฉายภาพยนตร์เล็กๆ ที่มีภาพยนตร์แสดงภาพความรุนแรง ความเสียหายและบทสัมภาษณ์ของชาวบ้านที่ประสบเหตุการณ ์ครั้งน้ำท่วมใหญ่มาบอก เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ย้อนรำลึกกัน

และห้องโถงสุดท้ายกลางอาคารโรงงาน มีการจัดแสดงเครื่องจักรกล เครื่องมือ และอุปกรณ์จากโรงงานเก่าตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม ซึ่งบางชิ้นยังคงมีร่อยรอยของความเสียหายจากพิบัติภั ยน้ำท่วมโคลนถล่มให้ชม กัน

เดินชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์กันจนทั่วก็จะมาสิ้นสุดท ี่บริเวณร้านค้า และร้านกาแฟบริเวณทางออก ที่นี่เขาจัดออกแบบตกแต่งไว้ให้มีบรรยากาศเหมือนร้าน ค้าของชาวบ้านในหมู่ บ้าน ซึ่งมีชั้นแสดงสินค้าที่จัดวางเรียงไว้ให้เลือกชมเลื อกซื้อกัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าของดอยคำและสินค้าโครงการหลว งทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผลไม้อบแห้ง ตั้งแต่มะม่วง ลำไย สตรอเบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์ชาชนิดต่างๆ กาแฟที่คั่วบดหอมกรุ่น น้ำผลไม้บรรจุกล่องและบรรจุกระป๋อง หรือจะสั่งกาแฟสดร้อน เย็น นั่งจิบในบรรยากาศของสภากาแฟพื้นบ้านก็ได้บรรยากาศดี ยิ่ง ในอนาคตทางพิพิธภัณฑ์จะให้บริการร้านอาหาร ซึ่งจะเน้นอาหารพื้นบ้านสไตล์ยูนนานที่เป็นเอกลักษณ์ ของชาวบ้านยางให้บริการ ด้วย

นอกจากนักท่องเที่ยวทั่วไปที่มีเวลาไม่มากนักจะเยี่ย มชมเฉพาะพื้นที่ นิทรรรศการซึ่งใช้เวลาราว 1-2 ชั่วโมงแล้ว พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตสำหรับการเรียนรู้แห่งนี้ ผู้สนใจศึกษาเชิงลึกยังสามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องรา วต่างๆได้เช่นการศึกษา เชิงนิเวศจากการเที่ยวชมศึกษาภูมิประเทศ การชลประทาน การทำฝายและแนวป้องกันน้ำท่วมโคลนถล่ม หรือด้านการเกษตรจากการศึกษาเรียนรู้แปลงทดลองและแปล งปลูกของเกษตรกรใน โครงการ หรือหากสนใจที่จะศึกษาวิธีการผลิตและแปรรูปอาหาร ทางโรงงานก็ไม่ได้ขัดข้องหรือปิดบัง แต่ยังยินดีที่จะจัดวิทยากรนำชมทุกกระบวนการทุกซอกทุ กมุมของโรงงานให้สมกับ การเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ตามพระราชดำริของสม เด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอย่างครบถ้วน

ท่านผู้อ่านใดสนใจจะเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) สามารถเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าสู่อำเภอฝ าง โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 107 ระยะทางราว 150 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางแยกขึ้นดอยอ่างขางอีกราว 9 กิโลเมตรก็จะถึงบ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้ชมทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 08.30 น.-16.30 น. หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์www.firstroyalfactory.org
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
............................................................

0 comments:

Post a Comment

 

sanookde Copyright © 2009 Girlymagz is Designed by Bie Girl Vector by Ipietoon